สัปดาห์ที่ 0
การเลือกพื้นที่ และการเตรียมดิน
การเลือกพื้นที่ ปลูกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ดอนน้ำไม่ท่วมขัง มีปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ
ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือ ฤดูแล้ง ช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ปลูกได้ทันทีหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีอาศัยความชื้นในดิน ต้นฤดูฝน ช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และปลายฤดูฝน ช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ควรระวังฝนตกช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต
การเตรียมดิน ไถด้วยพาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 ซม. พรวนด้วยพาลเจ็ด 1 ครั้ง คราดเก็บเศษซากของวัชพืชออกจากแปลง
สัปดาห์ที่ 1
การปลูก/เมล็ดเริ่มงอกระยะโผล่พ้นดิน
การปลูก
– ขณะปลูกดินมีความชื้นพอเหมาะ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวอัตรา 6 กก.ต่อไร่ ก่อนปลูกคลุกเมล็ดด้วยปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมอัตรา 200 กรัม (1 ถุง) ปลูกโดยวิธีหว่านหรือปลูกเป็นแถวโดยใช้เครื่องปลูกระยะปลูก 50×10 เซนติเมตร
– ให้น้ำและพ่นด้วยสารเคมีควบคุมวัชพืชก่อนงอกหลังปลูกทันที เช่น สารอะลาคลอร์ 48% EC อัตรา 125 มล./น้ำ 20 ลิตร
สัปดาห์ที่ 2
ระยะใบเลี้ยงและเจริญเติบโตข้อที่ ๑
ตรวจพันธุ์ปน
– ตรวจพันธุ์ปนระยะต้นกล้า ดูสีโคนต้นอ่อนหลังงอกตามลักษณะประจำพันธุ์
การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
– พ่นสารไตรอะโซฟอส 40%EC อัตรา ๔๐ มล./น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว ครั้งที่ ๑
สัปดาห์ที่ 3
ระยะเจริญเติบโตข้อที่ 2-3
การให้น้ำ
– ให้น้ำตามร่องหรือระบบสปริงเกอร์ครั้งที่ 2 ทั่วทั้งแปลง
การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
– ตรวจนับแมลงศัตรูที่สำคัญ เช่น หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยไฟ และเพลี้ยอ่อน เป็นต้น
– พ่นสารไตรอะโซฟอส 40%EC อัตรา ๔๐ มล./น้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันหนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว ครั้งที่ ๒ ห่างจากครั้งแรก 7 วัน
สัปดาห์ที่ 4
ระยะก่อนออกดอก
การป้องกันกำจัดวัชพืช
– กำจัดวัชพืชหลังงอกโดยพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืชใบแคบ ใช้สารฟลูเอซิฟอบ-พี-บิวทิล 15% EC อัตราอัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร และวัชพืชใบกว้าง ใช้สารโฟมีซาเฟน 25% SL อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร
การใส่ปุ๋ย
– ใส่ปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ ระหว่างการเจริญเติบสามารถฉีดพ่นธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
สัปดาห์ที่ 5
ระยะก่อนออกดอก ถึง ระยะเริ่มออกดอก
การให้น้ำ
– ให้น้ำตามร่องหรือระบบสปริงเกอร์ครั้งที่ 3
ตรวจพันธุ์ปน
– ตรวจพันธุ์ปนระยะออกดอก ดูที่สีกลีบดอกตามลักษณะประจำพันธุ์
การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
– ควรตรวจนับแมลงอย่างสม่ำเสมอ และพ่นสารกำจัดแมลง ไม่ควรฉีดสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่ม E หรือ O เช่น EC, EW, OD (ยาร้อน) ขณะติดดอก จะทำให้ดอก ใบอ่อนหลุดล่วงได้ ผลผลิตเสียหาย
– เลือกใช้สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่ม SC, SL, SG, SP, WP, WG แทน (ยาเย็น) ใช้ในปริมาณที่กำหนด เช่น พ่นสารป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ เพื่อป้องกันโรคใบด่างเหลืองในถั่วเขียว เช่น พ่นสารอะซีทามิพริด 20% SP อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ห่างกัน 7-10 วัน
การป้องกันกำจัดโรคพืช
– เฝ้าระวังโรคที่สำคัญ เช่น โรคราแป้ง พ่นสารเบโนมิล 50% WP อัตรา 15-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่ออายุ 30 วัน และพ่นซ้ำอีกทุก 10 วัน รวม 3 ครั้ง
สัปดาห์ที่ 6
ระยะเริ่มติดฝัก ถึงระยะติดเมล็ด
การให้น้ำ
– ให้น้ำตามร่องหรือระบบสปริงเกอร์ครั้งที่ 4
การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
– เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ เช่น เพลี้ยอ่อน พ่นสารไตรอะโซฟอส 40% EC 50 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นสารคาร์โบซัลแฟน 20% EC 50 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่น 1–2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เมื่อพบที่ใบ ดอก และฝักอ่อน ถูกทำลายและระบาดมาก
และหนอนเจาะฝัก พ่นสารแลมบ์ด้า–ไซฮาโลทริน 2.5% EC 20 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อฝักถูกทำลาย 30% ควรพ่น 1–2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน เป็นต้น
สัปดาห์ที่ 7
ระยะติดเมล็ด ถึง ระยะเมล็ดพัฒนาเต็มที่
การให้น้ำ
– ให้น้ำตามร่องหรือระบบสปริงเกอร์ครั้งที่ 5
การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
– ป้องกันกำจัดแมลงศีตรูพืชตามขั้นตอนในสัปดาห์ที่ 6 (36-42 วัน)
การป้องกันกำจัดโรคพืช
– เฝ้าระวังโรคที่สำคัญ เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาลพบมากในช่วงฤดูฝน – พ่นสารเบโนมิล 50% WP อัตรา 15-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ พ่นสารแมนโคเซบ 80% WP อัตรา 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทุก 7-10 วัน
สัปดาห์ที่ 8
ระยะเมล็ดพัฒนาเต็มที่ ถึงระยะสุกแก่
– งดการให้น้ำ
– ฝักใดฝักหนึ่งเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ
สัปดาห์ที่ 9
ระยะสุกแก่ ถึงระยะเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว
– เก็บเกี่ยวครั้งที่ 1 เมื่อถั่วเขียวมีฝักสุกแก่ 80 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้มือปลิดฝักแก่
สัปดาห์ที่ 10
ระยะเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยว
– เก็บเกี่ยวครั้งที่ 2 หลังจากเก็บเกี่ยวครั้งแรกประมาณ 14 โดยใช้มือปลิดฝักแก่
– เก็บเกี่ยวใช้เครื่องเกี่ยวนวดสำหรับถั่วเขียว สุกแก่ 90 เปอร์เซ็นต์
ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์
– นำเมล็ดมาผึ่งแดดเพื่อลดความชื้นให้เหลือประมาณ 11-12% คัดแยกทำความสะอาด บรรจุเมล็ดถั่วเขียวในกระสอบและเก็บในโรงเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่สะอาด