ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมคืออะไร ??? มีประโยชน์อย่างไร

โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมคืออะไร ??? มีประโยชน์อย่างไร

ไรโซเบียม ใช้สำหรับพืชตระกูลถั่ว พืชที่อยู่ในตระกูลถั่วมีอะไรบ้าง มาดูกันได้เลยคะ

โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน ไรโซเบียม ใช้สำหรับพืชตระกูลถั่ว พืชที่อยู่ในตระกูลถั่วมีอะไรบ้าง มาดูกันได้เลยคะ

งานมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2565 กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กรมวิชาการเกษตร

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดินและงานเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม กรมวิชาการเกษตร ได้จัดงานมุทิตาจิตเนื่องในวันเกษียณอายุราชการ ประจำปี 2565 เพื่อเป็นการแสดงมุทิตาจิตต่อบุคลากรที่เกษียณอายุราชการโดยจัดงานแบบเรียบง่ายและอบอุ่นซึ่งบุคลากรที่  เกษียณอายุราชการ ได้แก่ นายวัชระ โพธิสุวรรณ ตำแหน่งลูกจ้างประจำ นายอดุล สุดสาทร ตำแหน่งพนักงานราชการ และนางบุษรัตน์ สุ่มมาตร ตำแหน่งพนักงานราชการ โดยนางสาวสุปรานี มั่นหมาย  นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยจุลืนทรีย์ดิน เป็นประธานมอบของที่ระลึก และพร้อมด้วยบุคลากรพร้อมใจเข้าร่วมงานและรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ณ โถงชั้น 1 อาคารไรโซเบียม totolotre

โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน งานมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2565 กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กรมวิชาการเกษตร

รายชื่อศูนย์ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ สำหรับพืชตระกูลถั่ว

๑.ศูนย์ที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว รายชื่อศูนย์ ดังนี้

๒.ศูนย์ที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง รายชื่อศูนย์ ดังนี้

๓.ศูนย์ที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง รายชื่อศูนย์ ดังนี้

โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน รายชื่อศูนย์ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ สำหรับพืชตระกูลถั่ว

ไรโซเบียมของเรา มีอะไรน่าสนใจบ้าง ???

แนะนำผลิตภัณฑ์ไรโซเบียม หากท่านใดสนใจ สามารถเข้าชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ที่เมนู สินค้าและบริการนะคะ totolotre

*** ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ประกอบด้วยแบคทีเรียตระกูลไรโซเบียม (Rhizobiaceae) ที่สามารถเข้าสร้างปมรากกับพืชตระกูลถั่วได้ และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน(symbiosis)
ไรโซเบียมสามารถตรึงไนโตรเจนโดยใช้เอนไซม์ไนโตรจีเนส (nitrogenase) ควบคุมปฏิกิริยาการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศถึง 78 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักให้เป็นสารประกอบไนโตรเจน เพื่อให้พืชใช้ในการเจริญเติบโตได้

 

 

 

 

 

 

 

โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน ไรโซเบียมของเรา มีอะไรน่าสนใจบ้าง ???

ถั่วเหลืองพันธุ์ใหม่ “ กวก. เชียงใหม่ 7” ให้ผลผลิตสูง ตอบโจทย์โดนใจเกษตรกร

.
กรมวิชาการเกษตร เร่งวิจัยปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองสานนโยบายรัฐบาลเพิ่มผลผลิตในประเทศให้สอดรับความต้องการบริโภค พร้อมเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร จับถั่วเหลืองพันธุ์ฝักดกผสมพันธุ์ให้ผลผลิตสูง ได้ถั่วเหลืองพันธุ์ใหม่ “กวก. เชียงใหม่ 7” ลักษณะเด่นให้ผลผลิตสูง 304 กิโลกรัม/ไร่ แซงหน้าพันธุ์เดิมที่เกษตรกรนิยมปลูก พร้อมให้ปริมาณโปรตีนสูงกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
.
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ถั่วเหลืองเป็นพืชเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมน้ำมันพืช อาหารสัตว์ อาหารแปรรูป และอาหารสุขภาพต่าง ๆ เป็นอาหารโปรตีนสูงที่มีราคาถูกเมื่อเปรียบเทีบกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นพืชบำรุงดินและสามารถตัดวงจรการระบาดของโรคและแมลงในระบบปลูกพืช รวมทั้งการปลูกถั่วเหลืองยังใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าวนาปรังและพืชไร่อื่น ๆ บางชนิด อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การผลิตและการบริโภคถั่วหลือง ในปี 2555-2564 การผลิตถั่วเหลืองของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จากสภาพอากาศที่แปรปรวนและมีพืชแข่งขันอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยในปี 2564 มีพื้นที่ปลูกจำนวน 88,010 ไร่ ให้ผลผลิตรวม 23,482 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 267 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่ความต้องการบริโภคถั่วเหลืองของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 มีปริมาณความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองถึง 3,763,823 ตัน เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันถั่วเหลืองและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ในขณะที่สามารถผลิตได้เพียง 22,800 ตัน และคาดว่าปริมาณความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นอีกในปีต่อไป รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งส่งเสริมการผลิต ถั่วเหลืองในประเทศและให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศร่วมกัน
.
ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยปรับปรุงพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองอย่างต่อเนื่อง และได้รับรองพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อแนะนำให้เกษตรกรเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตมาโดยตลอด แต่เนื่องจากผลกระทบของสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พันธุ์เดิมให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ จึงได้วิจัยปรับปรุงพันธุ์ใหม่เพื่อให้พันธุ์ถั่วเหลืองที่ตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และทำให้ผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น และเพิ่มทางเลือกในการใช้พันธุ์ สร้างแรงจูงใจในการปลูกถั่วเหลืองให้กับเกษตรกร รวมทั้งสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ
.
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ทำการคัดเลือกลูกผสมสายพันธุ์ที่มีลักษณะทางการเกษตรดี ให้ผลผลิตดี เข้าประเมินผลผลิตตามขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ การเปรียบเทียบเบื้องต้น การเปรียบเทียบมาตรฐาน และการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร โดยใช้พันธุ์มาตรฐานเชียงใหม่ 60 และ เชียงใหม่ 6 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ และไร่เกษตรกรแหล่งปลูกถั่วเหลือง จนได้ถั่วเหลืองสายพันธุ์ CM0701-24 ซึ่งได้มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พื้นเมือง TG68 ที่มีฝักดก และพันธุ์ PK7386 ที่ให้ผลผลิตสูง ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ให้ถั่วเหลืองพันธุ์ใหม่ “กวก. เชียงใหม่ 7” เป็นพันธุ์แนะนำในวันที่ 12 กรกฎาคม 2565
.
“ถั่วเหลืองพันธุ์ “กวก. เชียงใหม่ 7” มีลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 304 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 281 กิโลกรัม/ไร่ และเชียงใหม่ 6 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 275 กิโลกรัม/ไร่ การเจริญเติบโตแบบกึ่งทอดยอด รูปร่างเมล็ดสวยค่อนข้างกลม เปลือกเมล็ดสีเหลือง และขั้วเมล็ดสีน้ำตาล อายุออกดอก 38 วัน อายุเก็บเกี่ยว 93 วัน ความสูง 58 เซนติเมตร จำนวนกิ่ง 1-2 กิ่งต่อต้น จำนวนฝัก 34 ฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2.24 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 13.59 กรัม ให้ปริมาณน้ำมันในเมล็ด 20.9 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณโปรตีน 35.3 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้งจังหวัดเชียงใหม่ แพร่ น่าน สุโขทัย ขอนแก่น และเลย และในฤดูฝน จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน
.
“ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ได้ทำการขยายเมล็ดพันธุ์เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรในเบื้องต้น จำนวน 500 กิโลกรัม สามารถปลูกได้ในพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ และจะทำการผลิตเมล็ดพันธุ์เพิ่มขึ้นในปีต่อไป ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก ถั่วเหลืองพันธุ์ “กวก. เชียงใหม่ 7 ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพันธุ์เดิมที่เกษตรกรกรนิยมปลูก ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5349 8536” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน ถั่วเหลืองพันธุ์ใหม่ “ กวก. เชียงใหม่ 7” ให้ผลผลิตสูง ตอบโจทย์โดนใจเกษตรกร

DOA Big Cleaning Day วันที่ 11 สิงหาคม 2565

วันที่ 11 สิงหาคม 2565
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์) เป็นประธานในกิจกรรมทำความสะอาดครั้งใหญ่ กรมวิชาการเกษตร (DOA Big Cleaning Day) เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2565 ณ บริเวณหน้าอาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร และเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียมได้เข้าร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day ในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน DOA Big Cleaning Day วันที่ 11 สิงหาคม 2565

กรมวิชาการเกษตรแนะนำ DOA Model

กรมวิชาการเกษตรแนะนำ DOA Model การผลิตพืชตามศาสตร์พระราชา เพื่อพัฒนาชุมชน เกษตร ให้พึ่งตนเองได้

https://www.facebook.com/kowkaset/photos/a.384833438387447/1929485713922204/

โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน กรมวิชาการเกษตรแนะนำ DOA Model

ปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์แตกต่างจากปุ๋ยเคมีอย่างไร??

โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน ปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์แตกต่างจากปุ๋ยเคมีอย่างไร??

“จะเกิดอะไรขึ้น หากใส่ปุ๋ยมากเกินไป”

เกณฑ์การใช้ปุ๋ยมากหรือน้อยสามารถพิจารณาได้จากค่าวิเคราะห์ดิน (บ่งบอกถึงระดับธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน) ขอแนะนำคร่าว ๆ ว่า ช่วงต้นฤดูก่อนผลิต หรือ ก่อนตัดแต่งกิ่ง ให้เกษตรกรเก็บตัวอย่างดินในสวน หรือ ในไร่นาไปวิเคราะห์ ดินที่นำไปวิเคราะห์นั้นเป็นผลมาจากการใส่ปุ๋ยเดิมเมื่อรอบปีที่ผ่านมา เมื่อวิเคราะห์เสร็จจะได้ผลวิเคราะห์ออกมาในระดับ ต่ำ ปานกลาง สูง ของตัวแทนธาตุอาหารนั้น            (N P K) ถ้าผลค่าวิเคราะห์ธาตุใด (ดูแต่ละธาตุ) มีค่าสูงมากก ให้ลดปุ๋ยธาตุนั้นลง 10 % แต่ถ้าผลค่าวิเคราะห์ต่ำ ให้เพิ่มปุ๋ยธาตุนั้นขึ้น 20 %

โพสท์ใน ข่าวสาร | ปิดความเห็น บน “จะเกิดอะไรขึ้น หากใส่ปุ๋ยมากเกินไป”