ข่าวสาร

๑.ระเบียบกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยการจำหน่ายและแจกจ่ายปัจจัยการผลิตของกรมวิชาการเกษตร
พ.ศ. ๒๕๖๒

๒.ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดราคาจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร พ.ศ. ๒๕๖๒

เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม ได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมติครม ลงใน website ของกรมวิชาการเกษตร คือ www.doa.go.th ดังนี้

• คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ มีนโยบายเกษตรกรรมเกี่ยวกับรัฐบาลจะส่งเสริมการทำเกษตร แบบผสมผสาน เกษตรกรรมทางเลือกและเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เกษตรกรชุมชนเกษตรกร และจะ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ของสินค้า เกษตรอินทรีย์ในตลาดให้เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

• มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งดำเนินการรณรงค์ ส่งเสริม และแนะนำให้เกษตรกร มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินด้านอินทรียวัตถุเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี และสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจังเพื่อการพัฒนาคุณภาพดิน ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี
• มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นเจ้าภาพรับผิดชอบเรื่อง การผลิตและรณรงค์การใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพให้แพร่หลาย โดยมีกระทรวงต่างๆ เข้าร่วม คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ถือว่าเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องทำให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

• มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เห็นชอบข้อเสนอการจัดทำแผนงบประมาณในเชิงบูรณาการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙ และให้กระทรวงและหน่วยงานใช้เป็นแนวทางประกอบการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกระบวนการ จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๙
• มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๘ เห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ให้เป็นวาระแห่งชาติ และอนุมัติในหลักการ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เป็นประธาน

• คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๘ ในการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร รัฐบาลจะสนับสนุนการ เพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าเกษตร โดยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพควบคู่ไปกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และกระบวนการบ่มเพาะวิสาหกิจชุมชนในการเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยให้ความสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และนำผลผลิตเกษตรไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง การผลิตสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพ ทางการตลาดสูงและมีโอกาสเพิ่มมูลค่า เช่น ยางพารา ปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นต้น และส่งเสริมการแปรรูป สินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร โดยพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรทั้งการ นำเข้าและส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานโลก รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวทฤษฎีใหม่ และ เกษตรอินทรีย์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม กฎ มติ ค.ร.ม. ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายเพื่อให้เอกชนที่เกี่ยวข้องได้ทราบ

• คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ และวันพุธที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ ดังนี้
ข้อ ๓.๓ นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ข้อ ๓.๓.๑ ภาคเกษตร

(๒) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรค แมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และถ่ายทอดองค์ความ รู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้พันธุ์ดี ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยตาม คุณสมบัติของดินแต่ละชนิด ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิต

(๕) เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผนการผลิตและการจำหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยำ ผสมผสานโครงสร้าง พื้นฐานของทางราชการและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างขบวนการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน
(๗) เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ร่วมมือสนับสนุนสถาบัน การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และดำเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษา ได้ทำหน้าที่สนับสนุนการส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบการจัดการ ผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการ ตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิต เร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เช่น ยางพาราและพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อรองรับวิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผล ตอบแทนสูง โดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่าภาคการ เกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศ อย่างต่อเนื่อง

(๙) ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตร และสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก สร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรทางเลือก ปรับโครงสร้างและจัดหาที่ทำกินให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้ และดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพดิน ให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตลอดจนการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียมมีการระบุช่องทางรับข้อร้องเรียน ๕ ช่องทางดังนี้
๑. ร้องเรียนต่อผู้บริหารโดยตรง ๒ ช่องทาง คือ
(๑) website : http://www.doa.go.th
(๒) จดหมาย
เรียนอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ที่อยู่ กรมวิชาการเกษตร
เลขที่ ๕๐ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กทม. ๑๐๙๐๐

๒. ศูนย์รับข้อร้องเรียน
Call Center เบอร์โทรศัพท์ ๐๒-๕๗๙๐๑๕๑-๘
e-mail ที่ Kpr@doa.in.th
Web Board ที่ http://www.doa.go.th

๓. กล่องแสดงความคิดเห็น
ตึกไรโซเบียม กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา
สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร

๔. หัวหน้าหน่วยงาน (ต้นสังกัด)
e-mail อธิบดี : –

๕. หน่วยงานภายนอก
ร้องเรียนได้ที่ ระฆังนายกรัฐมนตรี
Website คือ http://www.rakang.thaigov.go.thepest.asp.
หนังสือพิมพ์ทุกสำนักพิมพ์และสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง สื่อมวลชนต่างๆ
นโยบายการกำกับดูแลองค์กรที่ดี
เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม ได้วางนโยบายการกำกับดูแลองค์กรที่ดี โดยยึดหลักการ วางนโยบายให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ในหมวดที่ ๓ ว่าด้วยการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธฺ์ต่อภารกิจของรัฐ มาตรา ๙ โดยมีแนวนโยบายการ ดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
๑. ก่อนจะดำเนินงานตามภารกิจใด ส่วนราชการคือเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม ได้จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปีบัญชี ๒๕๕๕ เสนอผู้บริหารให้ความเห็นชอบ
๒. การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม ได้ระบุรายละเอียดของขั้น-ตอน ระยะเวลาและ งบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอนเป้าหมายของภารกิจ ผลผลิต และผลลัพธ์และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
๓. เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม จัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติราชการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดขึ้น

การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล หรือนโยบายของกระทรวงต้นสังกัด

เงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม ได้ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ชึ่ง น.ส ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงต่อรัฐสภาเมื่อ วันที่ ๒๓ – ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ ในประเด็นที่ ๓.๓ นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ หัวข้อย่อยที่ ๓.๓.๑ ภาคเกษตร ข้อ ๒ มีใจความว่า “เพื่อประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ด้านทานต่อโรค แมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคโลก และถ่ายทอดองค์ความรู้จากการ วิจัยไปสู่เกษตรกรเพื่อให้มีการใช้พันธุ์ดี ใช้เทคโนโลยีเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะการใช้ปู๋ยกับคุณสมบัติของดินแต่ ละชนิด ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิต” ข้อ ๕ มีใจความว่า “เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกร ให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน โดยมีการวางแผนการ ผลิตและการจำหน่ายล่วงหน้าที่แม่นยำ และประสานโครงสร้างพื้นฐานของทางราชการ และเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างกระบวนการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน” ข้อ ๗ มีใจความว่า “เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ร่วมมือสนับสนุนสถาบัน การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการเกษตรทุกสาขา และดำเนินการให้บุคลากรของสถาบันการศึกษาได้ทำหน้าที่ สนับสนุนการส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบการจัดการ ผลิต การบรรจุผลิตภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการ ตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลิต เร่งรัดการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เช่น ยางพาราและพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง เพื่อรองรับวิกฤตพลังงานโลก ส่งเสริมการผลิตสินค้าใหม่ที่ให้ผล ตอบแทนสูง โดยมีเป้าหมายเพิ่มมูลค่า ภาคการเกษตรต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศ อย่างต่อเนื่อง ” และข้อ ๙ มีใจความว่า “ ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริม การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อ เผชิญกับวิกฤตอาหารโลก สร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรทางเลือก ปรับโครงสร้างและจัดหาที่ทำกินให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้ และดำเนินการฟื้นฟูคุณภาพดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน ตลอดจนการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ” ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตเชื้อไรโซเบียม ได้ดำเนินการปฏิบัติงานตามภารกิจ

ที่เกี่ยวข้องดังนี้
๑. วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ไรโซเบียม
๒. พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
๓. ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่เกษตรกร เพื่อให้มการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพสูง
๔. ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่โดยเฉพาะ การใช้ปุ๋ยชีวภาพตามคุณสมบัติของดิน แต่ละชนิด ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพผลผลิต
๕. พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน