11-02-2015, 12:53 PM
การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดด้วงเจาะเห็ดแมลงศัตรูเห็ดที่สำคัญ
อุราพร หนูนารถ, รัตนา นชะพงษ์, สมรวย รวมชัยอภิกุล และจีรนุช เอกอำนวย
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
อุราพร หนูนารถ, รัตนา นชะพงษ์, สมรวย รวมชัยอภิกุล และจีรนุช เอกอำนวย
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การศึกษาชีววิทยาของด้วงเจาะเห็ด Cyllodes biplagiatus ในเห็ดนางฟ้าภูฏาน Pleurotus sp. Bhutan strain โดยดำเนินการทดลองที่กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ระหว่างเดือน ธันวาคม 2553 – มีนาคม 2554 ในสภาพห้องปฏิบัติการ ที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เห็ดนางฟ้าภูฏานเป็นอาหารพบว่า ตัวเต็มวัยเพศเมียจับคู่ผสมพันธุ์เมื่อมีอายุเฉลี่ย 1 วัน โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มๆ ละ 6-8 ฟอง มีเปอร์เซ็นต์การฟัก 94 เปอร์เซ็นต์ ระยะไข่ใช้เวลาในการพัฒนาเฉลี่ย 34.80±6.81 ชั่วโมง ระยะหนอนมี 3 วัย คือ วัยที่ 1, 2 และ 3 ใช้เวลาในการพัฒนาเฉลี่ย 4.00±0, 6.73±0.90 และ 3.27±0.45 วัน ตามลำดับ ระยะหนอนทั้งหมดมีอายุรวมเฉลี่ย 14.97±0.57 วัน ระยะดักแด้มีอายุเฉลี่ย 6.77±0.63 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียมีอายุขัยเฉลี่ย 38.83±3.94 วัน ด้วงมีวงจรชีวิตเฉลี่ย 62.00±3.83 วัน