การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดด้วงเจาะเห็ดแมลงศัตรูเห็ดที่สำคัญ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดด้วงเจาะเห็ดแมลงศัตรูเห็ดที่สำคัญ (/showthread.php?tid=222) |
การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดด้วงเจาะเห็ดแมลงศัตรูเห็ดที่สำคัญ - doa - 11-02-2015 การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดด้วงเจาะเห็ดแมลงศัตรูเห็ดที่สำคัญ อุราพร หนูนารถ, รัตนา นชะพงษ์, สมรวย รวมชัยอภิกุล และจีรนุช เอกอำนวย กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาชีววิทยาของด้วงเจาะเห็ด Cyllodes biplagiatus ในเห็ดนางฟ้าภูฏาน Pleurotus sp. Bhutan strain โดยดำเนินการทดลองที่กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ระหว่างเดือน ธันวาคม 2553 – มีนาคม 2554 ในสภาพห้องปฏิบัติการ ที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เห็ดนางฟ้าภูฏานเป็นอาหารพบว่า ตัวเต็มวัยเพศเมียจับคู่ผสมพันธุ์เมื่อมีอายุเฉลี่ย 1 วัน โดยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มๆ ละ 6-8 ฟอง มีเปอร์เซ็นต์การฟัก 94 เปอร์เซ็นต์ ระยะไข่ใช้เวลาในการพัฒนาเฉลี่ย 34.80±6.81 ชั่วโมง ระยะหนอนมี 3 วัย คือ วัยที่ 1, 2 และ 3 ใช้เวลาในการพัฒนาเฉลี่ย 4.00±0, 6.73±0.90 และ 3.27±0.45 วัน ตามลำดับ ระยะหนอนทั้งหมดมีอายุรวมเฉลี่ย 14.97±0.57 วัน ระยะดักแด้มีอายุเฉลี่ย 6.77±0.63 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียมีอายุขัยเฉลี่ย 38.83±3.94 วัน ด้วงมีวงจรชีวิตเฉลี่ย 62.00±3.83 วัน
|