08-09-2016, 10:29 AM
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอและความหลากหลายทางพันธุกรรมรา Fusarium spp.ในประเทศไทย
ธารทิพย ภาสบุตร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และนภสร ปุญญพิทักษ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ธารทิพย ภาสบุตร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และนภสร ปุญญพิทักษ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการศึกษาลักษณะพันธุกรรมของรา Fusarium oxysporum โดยวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprinting) ด้วยเทคนิค AFLP พบว่า สามารถแบ่งการกระจายตัวทางพันธุกรรมของเชื้อได้เป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวหรือตายพรายของกล้วยน้ำว้าจากแหล่งปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย 13 สายพันธุ์ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวของมะเขือเทศจากแหล่งปลูกทางภาคเหนือ 1 สายพันธุ์ และรา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวของปอเทืองจากแหล่งปลูกทางภาคเหนือ 1 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 2 ได้แก่ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวและใบไหม้ของกล้วยไม้และวานิลาจากแหล่งปลูกภาคกลาง 2 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 3 ได้แก่รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวของพริกและมะเขือเปราะจากแหล่งปลูกภาคเหนือ 2 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 4 ได้แก่ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวหรือตายพรายของกล้วยน้ำว้าจากแหล่งปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 5 ได้แก่ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวหรือตายพรายของกล้วยน้ำว้าจากแหล่งปลูกทางภาคเหนือ 6 สายพันธุ์ และจากแหล่งปลูกทางภาคกลาง 1 สายพันธุ์ ส่วนการศึกษาลักษณะพันธุกรรมของรา F. proliferatum โดยวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยเทคนิค RAPD ไม่สามารถสรุปผลความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของรา F. proliferatum แต่ละไอโซเลทที่นำมาทดลองได้ เนื่องจากพบว่า แถบดีเอ็นเอที่เกิดจากการใช้ไพรเมอร์ PFE08 และ PFE12 ไม่แสดงให้เห็นความเหมือนและความต่างทางพันธุกรรมของรา F. proliferatum ที่นำมาทดลอง