คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอและความหลากหลายทางพันธุกรรมรา Fusarium spp.ในประเทศไทย - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2552 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=27)
+--- เรื่อง: ลายพิมพ์ดีเอ็นเอและความหลากหลายทางพันธุกรรมรา Fusarium spp.ในประเทศไทย (/showthread.php?tid=1776)



ลายพิมพ์ดีเอ็นเอและความหลากหลายทางพันธุกรรมรา Fusarium spp.ในประเทศไทย - doa - 08-09-2016

ลายพิมพ์ดีเอ็นเอและความหลากหลายทางพันธุกรรมรา Fusarium spp.ในประเทศไทย
ธารทิพย ภาสบุตร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และนภสร ปุญญพิทักษ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการศึกษาลักษณะพันธุกรรมของรา Fusarium oxysporum โดยวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprinting) ด้วยเทคนิค AFLP พบว่า สามารถแบ่งการกระจายตัวทางพันธุกรรมของเชื้อได้เป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวหรือตายพรายของกล้วยน้ำว้าจากแหล่งปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย 13 สายพันธุ์ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวของมะเขือเทศจากแหล่งปลูกทางภาคเหนือ 1 สายพันธุ์ และรา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวของปอเทืองจากแหล่งปลูกทางภาคเหนือ 1 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 2 ได้แก่ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวและใบไหม้ของกล้วยไม้และวานิลาจากแหล่งปลูกภาคกลาง 2 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 3 ได้แก่รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวของพริกและมะเขือเปราะจากแหล่งปลูกภาคเหนือ 2 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 4 ได้แก่ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวหรือตายพรายของกล้วยน้ำว้าจากแหล่งปลูกทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 สายพันธุ์ กลุ่มที่ 5 ได้แก่ รา F. oxysporum ที่เป็นสาเหตุโรคเหี่ยวหรือตายพรายของกล้วยน้ำว้าจากแหล่งปลูกทางภาคเหนือ 6 สายพันธุ์ และจากแหล่งปลูกทางภาคกลาง 1 สายพันธุ์ ส่วนการศึกษาลักษณะพันธุกรรมของรา F. proliferatum โดยวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยเทคนิค RAPD ไม่สามารถสรุปผลความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของรา F. proliferatum แต่ละไอโซเลทที่นำมาทดลองได้ เนื่องจากพบว่า แถบดีเอ็นเอที่เกิดจากการใช้ไพรเมอร์ PFE08 และ PFE12 ไม่แสดงให้เห็นความเหมือนและความต่างทางพันธุกรรมของรา F. proliferatum ที่นำมาทดลอง