09-13-2018, 10:36 AM
ออกแบบ และพัฒนาไถระเบิดดินดานชนิดสั่นที่ขา 2 ขาแบบมีชุดควบคุมความถี่ในการสั่น
ตฤณสิษฐ์ ไกรสินบุรศักดิ์, ดนัย ศาลทูลพิทักษ์, อนุชา เชาว์โชติ, มงคล ตุ่นเฮ้า, พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, พีรพงษ์ เชาวพงษ์, อนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์ และจิระวีณ์ มหิทธิธนาศักดิ์
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรมจันทบุรี, กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
ตฤณสิษฐ์ ไกรสินบุรศักดิ์, ดนัย ศาลทูลพิทักษ์, อนุชา เชาว์โชติ, มงคล ตุ่นเฮ้า, พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, พีรพงษ์ เชาวพงษ์, อนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์ และจิระวีณ์ มหิทธิธนาศักดิ์
ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรมจันทบุรี, กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
ไถระเบิดดินดานชนิดสั่นที่ขา 2 ขาแบบมีชุดควบคุมความถี่ในการสั่นในงานวิจัยนี้ ออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้การสั่นของไถดินดานคงที่ตลอดการไถ ส่งผลให้ไถดินดานมีสมรรถนะการทำงานสูงสุด และเปลี่ยนระบบถ่ายทอดกำลังทางกลเป็นระบบถ่ายทอดกำลังอุทกสถิต เพื่อลดการสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อคนขับ ชุดถ่ายทอดกำลัง และความคงทนของอุปกรณ์ในรถแทรกเตอร์ การควบคุมความถี่ในการสั่นใช้ตัวควบคุมแบบฟัซซี มีลักษณะการทำงานโดยการป้อนความถี่ที่ต้องการควบคุมผ่านตัวควบคุมแบบฟัซซี ตัวควบคุมแบบฟัซซีจะไปเปิดวาล์วควบคุมอัตราการไหลให้น้ำมันไฮดรอลิกไปขับมอเตอร์ ไฮดรอลิกซึ่งต่ออยู่กับชุดสั่นสะเทือนของไถระเบิดดินดานทำให้เกิดการสั่นขึ้น โดยใช้สัญญาณป้อนกลับเป็นอุปกรณ์วัด และประมวลผลเป็นความถี่ที่ติดตั้งไว้ ทำการทดสอบในพื้นที่ดินร่วนเหนียวปนทราย ความชื้นดินเฉลี่ย 20.60%db ความหนาแน่นดินสภาวะแห้งเฉลี่ย 1.66 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และค่าความต้านทานการแทงทะลุของดินเฉลี่ย 2.58 เมกกะปาสคาล ที่ความถี่ในการสั่น 4 ระดับ คือ 0 7 9 และ 11 เฮิรตซ์ ความเร็วในการเคลื่อนที่ 2.09 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความลึกในการไถ 30 เซนติเมตร โดยมีความกว้างในการสั่นที่ปลายขาไถคงที่ 36.5 มิลลิเมตร พบว่าความถี่ในการสั่น 9 เฮิรตซ์ เป็นความถี่ที่เหมาะสม และมีสมรรถนะการทำงานสูงสุดสำหรับไถระเบิดดินดาน นอกจากนี้สามารถลดการสั่นสะเทือนต่อคนขับลงได้ 31.74 - 33.95% ที่ความถี่ในการสั่น ความลึกในการไถ และความเร็วในการเคลื่อนที่เดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับไถระเบิดดินดานชนิดสั่นที่ขา 2 ขา แบบใช้ระบบถ่ายทอดกำลังทางกล ส่วนผลการควบคุมพบว่า การสั่นของขาไถเริ่มสั่นจาก 0 Hz จนถึง 9 เฮิรตซ์ ใช้ช่วงเวลา Response Time เท่ากับ 14 มิลลิวินาที ช่วงเวลา Delay Time เท่ากับ 6 มิลลิวินาที ช่วงเวลา Rise Time เท่ากับ 11 มิลลิวินาที และช่วงเวลา Setting Time เท่ากับ 13 มิลลิวินาที ไม่เกิดค่าพุ่งเกิน ความถี่ในการสั่น 9 - 9.05 เฮิรตซ์ ตลอดการไถ