11-16-2016, 03:23 PM
การทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกมันสําปะหลังแบบพวงทายรถแทรกเตอรในสภาพพื้นที่เพาะปลูกตางๆ
ประสาท แสงพันธุตา, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, วุฒิพล จันทรสระคู, สนอง อมฤกษ์, คุรุวรรณ ภามาตย์, ขนิษฐ หวานณรงค์ และสิทธิชัย ดาศรี
กลุมวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช, กลุมวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, ศูนยวิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแกน, ศูนยวิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ และศูนยวิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี
ประสาท แสงพันธุตา, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, วุฒิพล จันทรสระคู, สนอง อมฤกษ์, คุรุวรรณ ภามาตย์, ขนิษฐ หวานณรงค์ และสิทธิชัย ดาศรี
กลุมวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช, กลุมวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, ศูนยวิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแกน, ศูนยวิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ และศูนยวิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี
การทดสอบเครื่องปลูกมันสําปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมในสภาพพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ กัน ซึ่งมีความหลากหลายในสภาพดินชนิดต่าง เพื่อรวบรวมปัญหา รวมถึงการพัฒนาให้สามารถนํามาใช้ปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่เพาะปลูกให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พบว่าเครื่องปลูกมันสําปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์นี้ ใช้รถแทรกเตอร์ต้นกําลังขนาด 37 แรงม้า สามารถทํางานในสภาพดินทราย และดินร่วนปนทรายได้ดี มีความสามารถในการทํางาน เฉลี่ยประมาณ 1 ไร่ต่อชั่วโมง ที่ระยะการปลูก 50 x 120 เซนติเมตร ประสิทธิภาพการทํางานเชิงพื้นที่ 85 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 2.15 ลิตรต่อไร่ โดยท่อนพันธุ์ที่ปักได้จากเครื่องต้นแบบจะเอียงตามแนวการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์ประมาณ 60 - 80 องศา ประสิทธิภาพการปักประมาณ 93 - 95 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามจาการทดสอบยังพบว่าในพื้นที่ปลูกที่เป็นสภาพดินร่วน หรือดินเหนียว เครื่องปลูกมันสําปะหลังนี้ต้องการการเตรียมดินที่ประณีตมากขึ้น เพื่อย่อยให้ดินมีความละเอียด เครื่องปลูกมันจึงสามารถทํางานได้ดีขึ้น โดยการย่อยดินด้วยจอบหมุนเพิ่มอีก 2 ครั้ง ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปักท่อนพันธุ์จาก 62.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 75.9 และ 80.4 เปอร์เซ็นต์