คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกมันสําปะหลังแบบพวงทายรถแทรกเตอรในสภาพพื้นที่เพาะปลูก - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2558 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=28)
+--- เรื่อง: การทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกมันสําปะหลังแบบพวงทายรถแทรกเตอรในสภาพพื้นที่เพาะปลูก (/showthread.php?tid=1961)



การทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกมันสําปะหลังแบบพวงทายรถแทรกเตอรในสภาพพื้นที่เพาะปลูก - doa - 11-16-2016

การทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกมันสําปะหลังแบบพวงทายรถแทรกเตอรในสภาพพื้นที่เพาะปลูกตางๆ
ประสาท แสงพันธุตา, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, วุฒิพล จันทรสระคู, สนอง อมฤกษ์, คุรุวรรณ ภามาตย์, ขนิษฐ หวานณรงค์ และสิทธิชัย ดาศรี
กลุมวิจัยวิศวกรรมผลิตพืช, กลุมวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม, ศูนยวิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแกน, ศูนยวิจัยเกษตรวิศวกรรมเชียงใหม่ และศูนยวิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี

          การทดสอบเครื่องปลูกมันสําปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมในสภาพพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ กัน ซึ่งมีความหลากหลายในสภาพดินชนิดต่าง เพื่อรวบรวมปัญหา รวมถึงการพัฒนาให้สามารถนํามาใช้ปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่เพาะปลูกให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พบว่าเครื่องปลูกมันสําปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์นี้ ใช้รถแทรกเตอร์ต้นกําลังขนาด 37 แรงม้า สามารถทํางานในสภาพดินทราย และดินร่วนปนทรายได้ดี มีความสามารถในการทํางาน เฉลี่ยประมาณ 1 ไร่ต่อชั่วโมง ที่ระยะการปลูก 50 x 120 เซนติเมตร ประสิทธิภาพการทํางานเชิงพื้นที่ 85 เปอร์เซ็นต์ และมีอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 2.15 ลิตรต่อไร่ โดยท่อนพันธุ์ที่ปักได้จากเครื่องต้นแบบจะเอียงตามแนวการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์ประมาณ 60 - 80 องศา ประสิทธิภาพการปักประมาณ 93 - 95 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามจาการทดสอบยังพบว่าในพื้นที่ปลูกที่เป็นสภาพดินร่วน หรือดินเหนียว เครื่องปลูกมันสําปะหลังนี้ต้องการการเตรียมดินที่ประณีตมากขึ้น เพื่อย่อยให้ดินมีความละเอียด เครื่องปลูกมันจึงสามารถทํางานได้ดีขึ้น โดยการย่อยดินด้วยจอบหมุนเพิ่มอีก 2 ครั้ง ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปักท่อนพันธุ์จาก 62.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 75.9 และ 80.4 เปอร์เซ็นต์