กลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ
บทบาทหน้าที่ความรับชอบ :
- ควบคุมและกำกับตามกฎหมายว่าด้วย วัตถุอันตราย ปุ๋ย และพันธุ์พืชในพื้นที่รับผิดชอบ
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 ได้ทำการเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตรในสังกัด ทำการตรวจสอบโรงงาน และร้านจำหน่ายปุ๋ยทางการเกษตร ทุกพื้นที่ที่ สวพ.8 เป็นผู้ผิดชอบ ได้แก่ สงขลา พัทลุง ตรัง ยะลา ปัตตานี รือเสาะ และนราธิวาส วัตถุประสงค์ในการตรวจครั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพ ผู้ใดพบเบาะแสการผลิตปุ๋ยปลอม สามารถแจ้งได้ที่เบอร์โทรศัทพ์ 074-445905-6 ต่อ 112
ผู้ที่ผลิตปุ๋ยปลอมจะมีโทษตามกฎหมาย คือ
ผู้ที่ผลิตปุ๋ยเคมีปลอม : มีความผิดตามมาตรา 63 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท
– กรณีเป็นปุ๋ยชีวภาพปลอม ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของปุ๋ยเคมี และ กรณีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ปลอม ต้องระวางเป็นหนึ่งในสี่ของปุ๋ยเคมี ผู้ที่ขายหรือนำเข้าปุ๋ยเคมีปลอม มีความผิดตามมาตรา 64 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท
– กรณีเป็นปุ๋ยชีวภาพ ต้องระวางโทษเป็นกึ่งหนึ่งของปุ๋ยเคมี และกรณีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ปลอม ต้องระวางเป็นหนึ่งในสี่ของปุ๋ยเคมี
ผู้ที่ผลิตปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน : มีความผิดตามมาตรา 66 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสองแสนบาท กรณีเป็นปุ๋ยชีวภาพต้องระวางโทษเป็นกึ่งหนึ่งของปุ๋ยเคมี และกรณีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ปลอมต้องระวางเป็นหนึ่งในสี่ของปุ๋ยเคมี
ผู้ที่ขายหรือนำเข้าปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน : มีความผิดตามมาตรา 67 ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ผู้ที่ขายหรือนำเข้าปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ : มีความผิดตามมาตรา 68 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงแปดหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ที่ผลิตปุ๋ยชีวภาพต่ำกว่าเกณฑ ์ : มีความผิดตามมาตรา 69 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 2 ปี 6 เดือน และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท กรณีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่ำกว่าเกณฑ์ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของปุ๋ยชีวภาพ
ผู้ที่ขายหรือนำเข้าปุ๋ยชีวภาพต่ำกว่าเกณฑ์ : มีความผิดตามมาตรา 70 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 1 ปี 6 เดือน และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท กรณีเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่ำกว่าเกณฑ์ต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของปุ๋ยชีวภาพ
พระราชบัญญัติและกฎระเบียบต่างๆ ที่ผู้ประกอบการควรทราบ
ผู้ประสงค์ที่จะจำหน่ายปุ๋ย วัตถุอันตราย และเมล็ดพันธุ์ควบคุม ต้องยื่นคำขอใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน
เอกสารหลักฐานในการยื่นคำขอใบอนุญาต :
สถานที่ยื่นคำขอ :
จังหวัดสงขลา : ยื่นคำขอที่ กลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ สวพ.8 ภายในศูนย์วิจัยยางสงขลา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร. 074-445905-6 ต่อ 112
จังหวัดพัทลุง : ยื่นคำขอที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง (ตรงข้ามศูนย์วิจัยข้าว พัทลุง) อ.เมือง จ.พัทลุง โทร. 074-614590
จังหวัดตรัง : ยื่นคำขอที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตรัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง โทร. 075-211133, 075-203245
จังหวัดสตูล : ยื่นคำขอที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา (ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา) โทร. 074-398201
จังหวัดปัตตานี : ยื่นคำขอที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี โทร. 073-356245
จังหวัดยะลา : ยื่นคำขอที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา (ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา) อ.เมือง จ.ยะลา โทร. 073-274451-2
จังหวัดนราธิวาส : อ.เมือง ตากใบ สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี สุคืริน เจาะไอร้อง แว้ง ยื่นคำขอที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส โทร. 073-651396-7
จังหวัดนราธิวาส : อ.รือเสาะ ยี่งอ บาเจาะ ราแงะ ศรีสาคร ยื่นคำขอที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรรือเสาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โทร. 081-0981446
อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต :
– ปุ๋ย 200 บาท/ปี
– วัตถุอันตราย 500 บาท/ปี
– เมล็ดพันธุ์ควบคุม 100 บาท/ปี
– การขอยกเลิกใบอนุญาตต้องขอยกเลิกก่อนใบอนุญาติจะสิ้นอายุ
– การยื่นคำขอต่อใบอนุญาตต้องยื่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ถ้ายื่นคำขอ ใบอนุญาตหลังใบอนุญาตสิ้นอายุ จะมีฐานความผิดเปรียบเทียบปรับ ดังนี้
ปุ๋ย : ความผิดครั้งที่ 1 เปรียบเทียบปรับวันละ 50 บาท
ความผิดครั้งที่ 2 เปรียบเทียบปรับวันละ 200 บาท
ความผิดครั้งที่ 3 เปรียบเทียบปรับวันละ 400 บาท
ความผิดครั้งที่ 4 เพิกถอนใบอนุญาต
เมล็ดพันธุ์ : เปรียบเทียบปรับวันละไม่เกิน 100 บาท
เอกสารหลักฐานในการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต :
– ใบอนุญาตฉบับเดิม
– กรอกแบบฟอร์มคำขอต่อใบอนุญาตให้ชัดเจน
– สำเนาใบประกาศผู้ควบคุมร้าน (กรณีวัตถุอันตราย)
ค่าธรรมเนียม : การขอต่ออายุใบอนุญาติเท่ากับการขอครั้งแรก และการแจ้งใบอนุญาตสูญหาย ให้แจ้งภายใน 15 วัน
อัตราค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต :
– ปุ๋ย 100 บาท/ปี
– วัตถุอันตราย 500 บาท/ปี
– เมล็ดพันธุ์ควบคุม 50 บาท/ปี