อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ประชุมหารือเพื่อติดตามการดำเนินการของ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7-8 และด่านตรวจพืชในเขตภาคใต้
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อติดตามการดำเนินการของ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7-8 และด่านตรวจพืชในเขตภาคใต้ โดยมีประเด็นที่ติดตาม ดังนี้ การป้องกันหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนและความปลอดภัยอาหารทั้งในสวนและในโรงงานผลิตสินค้าพืชเพื่อการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหนอนหัวดำมะพร้าวในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ การปฏิบัติงานของด่านตรวจพืชในพื้นที่ภาคใต้ และแนวทางการขยายกล้าปาล์มน้ำมัน และมะพร้าวคุณภาพ
ทั้งนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้เน้นย้ำข้อสั่งการใน 4 ประเด็น ดังนี้
1. การตรวจเข้มล้งทุเรียนและล้งผลไม้สดและการตรวจติดตามล้งที่ถูกระงับกรณีตรวจเจอแคดเมียม
2.แนวทางในการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยอาหารส่งออกจีนโดยให้เขียนโครงการวิจัยเพื่อเสนอของบประมาณอย่างเร่งด่วนและเพิ่มจำนวนตัวอย่างทุเรียนเพื่อวิเคราะห์แคดเมียมในภาพรวมของประเทศ โดยบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง สวพ.1-8 , กมพ และ กปผ.
3. Kick OFF การดำเนินการป้องกันกำจัดการระบาดหนอนหัวดำมะพร้าว โดยให้ทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงาน อบจ. และ กสส
4.มอบ สวพ 8 เสนอโครงการการขยายพันธุ์ต้นกล้าปาล์มน้ำมันและมะพร้าวพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตรโดยให้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานกองเมล็ดพันธุ์พืช สวพ 7-8 และศูนย์วิจัยปาล์มสุราษฎร์ธานี ศูนย์วิจัยปาล์มกระบี่ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร
ในโอกาสนี้ ผอ. สวพ 7 /รักษาการ ผอ. สวพ.8 /รักษาการ ผชช.สวพ.8 คณะผู้บริหาร สวพ.7-8 และหัวหน้าด่านตรวจพืช (ภาคใต้) เข้าร่วมประชุมด้วย ณ ห้องประชุมสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และผ่านระบบ Zoom Meeting
ทั้งนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการผลิตและขยายชีวภัณฑ์ ภาคใต้ตอนล่าง
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา โดยห้องปฏิบัติการผลิตและขยายชีวภัณฑ์สามารถผลิตชีวภัณฑ์ของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ Bs สายพันธุ์ DOA24, 20w1, 20w33, 20w16 ชีวภัณฑ์ BT 1DOA และ ไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ DOA-TH50 เพื่อสนับสนุนงานวิจัย งานโครงการตามนโยบาย งานผลิตภัณฑ์พืชปลอดภัย และพืชอินทรีย์ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ให้คำแนะนำการเผยแพร่เทคโนโลยีสู่เกษตรกร และสนับสนุนการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ นอกจากนั้นให้เตรียมความพร้อมการผลิตชีวภัณฑ์ เพื่อรองรับการฟื้นฟูและสกัดการระบาดโรค แมลงศัตรูพืชฉุกเฉิน ในพื้นที่น้ำท่วม ต่อไป