Next normal เกษตรสงขลาจะไปทางไหนดีในอีก 3 ปีข้างหน้า
สวพ.8 จัดเวทีระดมความเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ คือจาก ภาครัฐกระทรวงเกษตร (กษ. สวพ.8 เกษตรจังหวัด ) คณะทรัพย์ มอ. ท้องถิ่น(อบจ.สงขลา เทศบาลเขารูปช้าง) ชุมชนรำแดง กระดังงา สื่อมวลชนทางไทย ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร สวนเทพหยา สภาเกษตรกร smart farmer (ศพก. แปลงใหญ่) เกษตรกรผู้นำ และผู้ร่วมภาค อื่น ๆ ผลการเสวนา สรุปดังนี้
1. ทิศทางเชิงนโยบาย ตามแผนชาติ 20 ปี คือมุ่งสู่ เกษตรอัตลักษณ์ เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป เกษตรอัจฉริยะ เกษตรระบบนิเวศ รวมทั้ง BCG และ เกษตรมูลค่าสูง
2.ดึงภาคสื่อสารมวลชน มาทำสื่อเพื่อการสร้างสรรการพัฒนาเกษตร เช่น กรณีทางไทย ทำการส่งเสริมสินค้าชุมชน ส่งเสริมเกษตรกร และภาคส่วนต่าง ๆ ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ รวมทั้งการจัดการท่องเที่ยวชุมชน
3. ด้านเกษตรอัตลักษณ์ ทำสินค้าให้มีคุณภาพด้วยเกษตรปราณีต และโยงกับเกษตรท่องเที่ยวชุมชน เชื่อมวิถีความเชื่อ และธรรมชาติ
4. ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น สงครามเศรษฐกิจ กระทบส่งออก โยงมาถึงเกษตรกรสงขลา เช่น
1) ผลของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้กระทบฤดูกาลผลิต และเกิดความเสียหาย น้ำเค็มในทะเลสาบ
2) งานวิจัยใหม่เกิดขึ้นที่ควรนำมาใช้ให้เกิดทำน้อยให้ได้มาก
3) สังคมเมืองคนเมืองเพิ่มขึ้นจากคนชนบทอพยบมาทำงาน ส่งผลต่อความต้องการอาหารเพิ่ม ต้องมาคิดเรื่องเกษตรในเมือง และคิดการรองรับคนที่เลิกทำงานในเมืองแล้วกลับมางานที่บ้าน
4) สินค้าสุขภาพขายดี ใช้วิกฤตโควิดที่ส่งผลด้านบวก รวมถึงสินค้าปลอดภัย
5) พัฒนาเน้นหนักใช้ความโดดเด่นและต้นทุนเชิงพื้นที่ 4 โซนเกษตรสงขลา คือ เขตคาบสมุทร=ความมั่นคงทางอาหาร เขตพื้นที่ชายแดนใต้ เขตพื้นที่ดอน และเขตเกษตรพื้นที่เมือง เป็นต้น
5. กลุ่ม smart farmers 200+ คน แปลงใหญ่ 3890 ราย ศพกหลัก 16 ศพก. 252 ศพก.ย่อย
1) ควรตั้งเป้าสร้างความมั่นคงด้านอาหารชุมชน กลุ่มเหล่านี้ควรเชื่อมชุมชนนำชุมชน
2) ทำธุรกิจชุมชนเพื่อสังคมในชุมชน เช่น ผักยกแคร่ social enterprise
3) หน่วยงานต่างๆ ควรเพิ่มการทำวิจัยส่งเสริมเชิงพื้นที่ วิจัยชุมชน
4) สร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในชุมชน
5) เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีอัจฉริยะ
6. การวิจัย พัฒนา
1) เรื่องความมั่นคงทางอาหาร
2) พัฒนาเกษตรกร ในกลุ่มสูงอายุ และ รุ่นใหม่
3) ระบบเตือนภัยด้าน climate change ที่จะเตือนภัยแก่เกษตรกรให้รับมือล่วงหน้าได้
4) พืชพลังงาน ส่งโรงไฟฟ้าชีวมวล
5) การลดต้นยางต่อไร่แต่ยังได้ผลผลิตเท่าเดิม หรือใช้พื้นที่มาปลูกพืชอื่นๆ หรือใช้เวลาไปทำอย่างอื่น ที่สร้างรายได้ระยะยาว
6) การพัฒนาสินค้าราคาสูง ให้กับตลาดผู้บริโภคสินค้าที่ซื้อราคาสูงได้
7) เกษตรอัจฉริยะ เช่น เรื่องเครืองมือกำหนดการให้น้ำ หรือใส่ปัจจัยที่เหมาะสม เป็นต้น และเครื่องมือที่ต้องเหมาะกับเกษตรกร เกษตรกรดูแลระบบเองได้ เสียซ่อมได้
7. ข้อเสนอของภาคชุมชน
1) นโยบายการพํมนา ควรลงมาที่ความพอเพียงชุมชน เกษตรสมดุล ผลิตสินค้าให้พอ ให้คนมีความรู้ มีระบบการดูแลชุมชน การใช้ it การสร้างเยาวชน และ เกษตรครบวงจรทั้งระบบ -ผลิต-แปรรรูป-ตลาด -ท่องเที่ยว
2) ชุมชน จับมือ วิจัยพัฒนาร่วมกับหน่วยงาน ช่วยให้เข้มแข็ง ปัญหาสำคัญชุมชนยังเป็นเรื่องขาดน้ำ น้ำท่วม ที่ยังต้องการพัฒนา รูปแบบปลูกพืชที่มีแหล่งน้ำ เช่น ร่องสวน เรื่องให้ชุมชนเข้าสู่ตลาด การพัฒนาโรงเรืนเข้าสู่ อย. เพื่อให้สินค้าไปต่อรูปแบบการขายในช่องทางสุขภาพ หรือในสถานที่ต่างๆที่ เกษตรกรสามารถเข้าไปขายได้(โควิดไม่ปิดสถานที่ที่เกษตรกรขายของได้)
3) เกษตรกรยืนบนขาตนเอง รัฐอำนวยความสะดวกในจุดที่เกษตรกรต้องการ
4) เกษตรอินทรีย์ GAP เพิ่มโอกาสการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้ดีขึ้น สินค้าเกษตรอินทรีย์จะไปได้ดีขึ้นหากไม่เอาราคาแพงมาเป็นตัวตั้ง เรื่องเหล่านี้ควรส่งเสริมขยายให้มากเพราะจะดีต่อการขายออนไลน์เนื่องจากลูกค้าไม่ได้สัมผัสสินค้าโดยตรง ระบบมาตรฐานจะช่วยได้มาก
5) ต้องแก้ปัญหาเกษตรกร เช่น ปุ๋ยเคมีแพง ขาดน้ำ ตลาด วางแผนให้มีการผลิตตอบความต้องการตลาด พืชทางเลือก เกษตรผสมผสาน ผักยกแคร่ เป็นต้น
6) พัฒนาให้เกษตรสงขลาเจริญอย่างยั่งยืน คิดทบทวนนโยบาย จากมุ่งให้ได้ราคาดี ที่สวนทางกับผู้บริโภคต้องการราคาถูก จุดลงตัวคืออะไร ข้าวพันธุ์ดีฟรีจากรัฐ ชลประทานดูแลน้ำให้พอ ส่งเสริมกินข้าวสงขลา ข้าวดีราคาเหมาะสม หน่วยงานต้องจริงใจ รับผิดชอบ และทำงานให้มากให้ไกลกว่าเดิม เอาตัวอย่างประเทศที่ทำได้ดีมาทำอย่างจริงจัง
8. ระบบส่งเสริมการเกษตร พัฒนาต้นแบบ เพื่อเกษตรกร สอน เกษตรกร รวมคน รวมแปลงใหญ่ และการมีส่วนร่วม
9. ภาคธุรกิจเกษตร
1) นำเศษเหลือมาสร้างมูลค่าด้วยนวัตกรรม เช่นขุยมะพร้าวสู่ดินปลูก
2) สินค้าไทยมีคุณภาพในสายตาต่างประเทศ อยู่ตรงกลางระหว่างประเทศผลิตสดกับประเทศอุตสาหกรรม
3) วาง positions / section วางตำแหน่งของเกษตรสงขลาก่อน เช่น ระดับโลก ระดับประเทศก่อน แล้วลงระดับสินค้า พัฒนาให้เหมาะสม ไม่หลงทิศ
4) คู่แข่งการค้าต่างประเทศ ผลผลิตสดจากต่างประเทศทะลักเข้าไทย ไทยอาจเป็นเพียงทางผ่านสินค้าก็ได้แต่ไทยแรงงานแพง
5) แอปพลิเคชั่น แพลตฟอร์มขายสินค้าเกษตรคุณภาพGAP mart เกษตรกรขายสินค้าที่ได้มาตรฐาน
6) ภาคธุรกิจ ร้านอาหารควรใช้วัตถุดิบสินค้าสงขลาเป็นหลัก
10. เศรษฐกิจเกษตร “สงขลาเกษตรสร้างสุข”แก้จนแก้เจ็บและเปลี่ยนวิธีคิด เกษตรทันสมัยที่เหมาะสมกับสงขลา และเครื่องมือราคาถูกเกษตรเครือข่าย รวมตัวด้วยคุณธรรม มีนวัตกรรม วิธิคิดเช่น เศรษฐกิจพอเพียง และนวัตกรรมวิธีทำ ใช้เทคโนโลยี ใช้ความรู้ มีความคิด มีความเชื่อ มีความมุ่งมั่น และขายฝันร่วมกัน ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนมีทิศทางไปร่วมกัน ทำสหกรณ์เข้มแข็ง ทำวิสาหกิจเข้มแข็ง รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่สมดุล ไม่สนับสนุนการเกษตรที่ทำลาย ดิน ป่า สิ่งแวดล้อม อาหารสงขลาให้เด่น ข้าวอะไร กินกับอะไร ลงมือทำตามแผนชาติ เป็นทิศทางที่ถูกต้อง พัฒนาจิตใจคุณธรรม ปัญญา นวัตกรรมเทคโนโลยี การร่วมรวมตัวทำ พัฒนาเชิงพื้นที่ให้ชัดเจน ดึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนจริง ๆ เกษตรลดการลดต้นทุน ดินดี มีน้ำต้นทุน รวมกลุ่มจากพื้นที่ของบจังหวัดจากพื้นที่ 10 ท้องถิ่นกับภาคเกษตร อบจ ตั้งกองส่งเสริมการเกษตร. อบต เทศบาล อบจ. ควรเพื่มงาน/งบมาทำเรื่องเกษตรที่เพียงพอ
บทสรุป
1. ปรับวิธีคิดในภาคเกษตรสงขลาให้ไปด้วยกัน คือทำเกษตรสร้างสุข ให้เกิดความสมดุล พอเพียง ยั่งยืน และมีจุดยืนที่ชัดเจนร่วมกัน
2. ปรับวิธีทำ สนับสนุนวิธีทำด้วยความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
3. ร่วมกันทำจริง ๆ ของทุกภาคส่วน
ความคิดเห็น 0 รายการ
สวพ แปด
5 ชม. · แชร์กับ สาธารณะ