24-09-2020, 03:50
การผลิตส้มโอ ซึ่งเป็นพืชที่มีศักยภาพในการส่งออก ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในต่างประเทศ เนื่องจากส้มโอเป็นพืชที่มีอายุหลังการเก็บเกี่ยวนาน ในประเทศไทยสามารถปลูกส้มโอได้ทุกภาคของประเทศทำให้ผลผลิตของส้มโอค่อนข้างสูง ในแต่ละปีโดยพื้นที่ปลูก ส้มโอของประเทศไทยในปัจจุบันมีประมาณ ๒๐๓,๑๒๓ ไร่ และปริมาณผลผลิตปีละ ๓๒๐,๑๒๒ ตัน ในปี ๒๕๕๔ มีมูลค่าผลผลิต ๔,๑๙๖.๗๐๗ ล้านบาท นอกจากการบริโภคภายในประเทศแล้วสามารถส่งออกส้มโอไปต่างประเทศได้ปีละไม่น้อย ในปี ๒๕๕๑ มีปริมาณส่งออกิ ๑๑,๒๑๘ ตัน มูลค่าส่งออกในเป็นเงิน ๑๐๙.๒๓ ล้านบาท ตลาดต่างประเทศที่สำคัญได้แก่ สหพันธรัฐมาเลเซีย เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นต้น แต่ประเทศไทยไม่สามารถส่งออกส้มโอไปยังตลาดสำคัญของโลก เช่น ประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เนื่องจากประสบปัญหาเรื่องโรคของส้มโอ โรคที่เป็นปัญหาในการส่งออกคือ โรคแคงเคอร์ และโรคจุดดำ (Black spot) ที่สามารถติดไปกับผลส้มโอได้ นอกจากนั้นปัญหาของศัตรูส้มโอทั้งโรค แมลง ไร และวัชพืช ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตส้มโอไม่ได้คุณภาพตามที่ตลาดต่างประเทศต้องการ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จึงรวบรวม ทบทวน ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลทางวิชาการที่ได้จากผลงานวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ โรคของส้มโอ แมลงและไรศัตรูส้มโอ วัชพืชในแปลงส้มโอ ซึ่งนำมาประมวลและกลั่นกรองให้ถูกต้องโดยผู้รู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงาน เพื่อจัดเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ ครบถ้วน ถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติได้
บทที่ 1 สถานการณ์การผลิตส้มโอ.pdf (ขนาด: 806.18 KB / ดาวน์โหลด: 1,029)
บทที่ 2 สถานการณ์โรค.pdf (ขนาด: 4.44 MB / ดาวน์โหลด: 3,348)
บทที่ 3 แมลงศัตรูส้มโอ.pdf (ขนาด: 1.82 MB / ดาวน์โหลด: 10,120)
บทที่ 4 ไรศัตรูส้มโอ.pdf (ขนาด: 800.2 KB / ดาวน์โหลด: 3,256)
บทที่ 5 วัชพืชในสวนส้มโอ.pdf (ขนาด: 1.24 MB / ดาวน์โหลด: 4,109)
บทที่ 6 การตรวจรับรองส้มโอปลอดโรคแคงเคอร์.pdf (ขนาด: 619.1 KB / ดาวน์โหลด: 751)
บทที่ 7 ขั้นตอนการปฏิบัติในการผลิตส้มโอ.pdf (ขนาด: 1.73 MB / ดาวน์โหลด: 2,373)
บทที่ 8 ดรรชนีขื่อสามัญของสารเคมี.pdf (ขนาด: 126.3 KB / ดาวน์โหลด: 692)
บรรณานุกรม.pdf (ขนาด: 263 KB / ดาวน์โหลด: 1,386)