กองการยาง
1. ควบคุมกํากับดูแลเกี่ยวกับการผลิต การค้า การส่งออก และการนําเข้ายางตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมยาง
2. ศึกษา วิจัยเกี่ยวกับยางเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานควบคุมตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมยาง
3. ให้บริการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับยาง และคุณภาพยาง
4. ให้บริการวิชาการและเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ เกษตรกร และเอกชนที่เกี่ยวข้อง
5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
แบ่งงานภายในกองการยาง ดังนี้
หน่วยงานในส่วนกลาง
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ ดําเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานงบประมาณ งานการเงินบัญชีและพัสดุ งานบุคคล และงานธุรการทั่วไป
2. กลุ่มควบคุมการอนุญาตตามพระราชบัญญัติ มีหน้าที่ ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาระบบและดําเนินการควบคุมการผลิต การค้า การส่งออก และการนําเข้ายาง เพื่อการขออนุญาต และการออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง
3. กลุ่มวิชาการ มีหน้าที่
– ศึกษา วิจัยเกี่ยวกับยางเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมยาง
– ให้คําปรึกษา ประสานงานและร่วมดําเนินงานเกี่ยวกับงานวิจัยกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
4. กลุ่มพัฒนาระบบมาตรฐานยาง มีหน้าที่
– ศึกษาวิจัย พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานและควบคุมกํากับมาตรฐานยาง เพื่อปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง
– ให้บริการวิเคราะห์ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับยาง และคุณภาพยาง
– ให้คําปรึกษา ประสานงานและร่วมดําเนินงานเกี่ยวกับงานวิจัยกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
5.กลุ่มเศรษฐกิจยาง มีหน้าที่
– ศึกษา วิเคราะห์ และจัดระบบข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการผลิต การใช้ การค้า การส่งออก และการนําเข้ายาง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง
– จัดทําข้อมูลสถิติยาง
– แลกเปลี่ยนข้อมูลยางกับองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง
– ให้คําปรึกษา ประสานงานและร่วมดําเนินงานเกี่ยวกับงานวิจัยกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานในส่วนภูมิภาค
ศูนย์ควบคุมยาง มีหน้าที่
1. ควบคุมการผลิต การค้า การส่งออก และการนําเข้ายางตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมยางในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
2. ศึกษา วิจัยเกี่ยวกับยาง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานควบคุมตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมยางในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
3. ให้บริการวิเคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพยาง และรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับยางในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
มีจํานวน 6 ศูนย์ ดังนี้
1. ศูนย์ควบคุมยางสงขลา จังหวัดสงขลา
2. ศูนย์ควบคุมยางสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3. ศูนย์ควบคุมยางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
4. ศูนย์ควบคุมยางบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
5. ศูนย์ควบคุมยางหนองคาย จังหวัดหนองคาย
6. ศูนย์ควบคุมยางเชียงราย จังหวัดเชียงราย
แบ่งงานภายในเป็น
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ ดําเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานงบประมาณ งานการเงินบัญชีและพัสดุ งานบุคคล และงานธุรการทั่วไป
2. กลุ่มวิชาการ มีหน้าที่ศึกษา วิจัยเกี่ยวกับยางเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมยาง และให้บริการวิเคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพยางในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
3. กลุ่มปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติยาง มีหน้าที่ควบคุมการผลิต การค้า การส่งออก และการนําเข้ายางตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยางในเขตพื้นที่รับผิดชอบ