12-25-2015, 03:00 PM
เทคนิคการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมอ้อย (Saccharum officinarum L.) ในสภาพปลอดเชื้อ
กษิดิศ ดิษฐบรรจง, ชยานิจ ดิษฐบรรจง, ภุมรินทร์ วณิชชนานันท์ และวีระพล พลรักดี
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
กษิดิศ ดิษฐบรรจง, ชยานิจ ดิษฐบรรจง, ภุมรินทร์ วณิชชนานันท์ และวีระพล พลรักดี
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น
การเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมอ้อยในสภาพปลอดเชื้อ สามารถกระทำได้โดยใช้เทคนิค somatic embryogenesis. somatic embryo สามารถชักนำได้โดยนำช่อดอกอ่อนมาเลี้ยงบนอาหารชักนำให้เกิดแคลลัส ประกอบด้วยอาหาร MS ที่เติม 2,4-dichlorophenoxy aceticacid (2,4-D) ความเข้มข้น 10-15 µM, น้ำมะพร้าว 50 ml/l, casein hydrolysate 500 mg/l และน้ำตาลซูโครส 6 % (w/v) จากนั้นเพิ่มปริมาณแคลลัสบนอาหารสูตรเดิมแต่ลดความเข้มข้นของ 2,4- D เหลือ 5 µM แคลลัสที่ได้สามารถชักนำให้พัฒนาเป็นต้นอ่อนบนอาหาร MS ที่เติมปุ๋ยใบกล้วยไม้สูตร 21-21-21 อัตรา 0.5 gm/l และน้ำตาลซูโครส 6 % (w/v) การเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมอ้อยในระยะกลาง (medium-term conservation) ทำได้โดยนำต้นอ้อยที่เกิดจากกระบวนการ somatic embryogenesis มาเลี้ยงบนอาหาร MS ที่มีปุ๋ยใบกล้วยไม้สูตร 21-21-21 อัตรา 0.5 gm/l และน้ำตาลซูโครส 6 % (w/v) และเติม mannitol 1-2 % (w/v) โดยสามารถเก็บรักษาโดยการชะลอการเจริญเติบโตได้นาน 6 เดือนโดยไม่เปลี่ยนอาหารและคงความมีชีวิตอยู่ การเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมอ้อยในระยะยาว (long-term conservation) สามารถทำได้โดยนำ somatic embryo ระยะเริ่มต้นมาทำการ pre-culture ด้วยน้ำตาลซูโครส 48 ชั่วโมง ตามด้วยการ loading ใน loading solution ที่ประกอบด้วยอาหาร MS ที่เติมน้ำตาลซูโครส 0.5 M และ glycerol 2 M เป็นเวลา 30 นาที การใช้ PVS3 และ PVS3 variants สามารถเก็บรักษาเซลล์อ้อยได้ผลดี โดยมีเปอร์เซ็นต์การอยู่รอด (survival percentage) และเปอร์เซ็นต์การพัฒนาเป็นต้นอ่อน (regeneration percentage) สูงกว่าการใช้ PVS2