12-23-2015, 04:01 PM
การอนุรักษ์จุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช: ศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อรา Collectrichum spp.
ธารทิพย ภาสบุตร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี และพรพิมล อธิปัญญาคม
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ธารทิพย ภาสบุตร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี และพรพิมล อธิปัญญาคม
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการศึกษาเทคนิคการเก็บรักษารา Collectrichum spp. โดยทำการเก็บรักษารา Collectrichum spp. ที่เป็นสาเหตุโรคแอนแทรคโนสพริก ได้แก่ รา C. gloeosporioides 5 ไอโซเลท และรา C. capsici 5 ไอโซเลท ด้วยวิธีการเก็บรักษา 6 วิธี คือ การเก็บรักษาในสภาพแห้งบนการะดาษกรอง การเก็บรักษาในน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ การเก็บรักษาในสภาพแห้งบนซิลิกาเจล การเก็บรักษาในน้ำมันพาราฟิน การเก็บรักษาในกลีเซอรอล 10 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส และการเก็บรักษาในสภาพแห้งสุญญากาศ เมื่อครบระยะการเก็บรักษาเป็นเวลา 2 4 6 และ 8 เดือน นำราที่เก็บรักษาไว้มาตรวจความมีชีวิต การบนเปื้อน การสร้างโคนิเดีย และความสามารถในการทำให้พืชเกิดโรค พบว่า วิธีการเก็บรักษาในสภาพแห้งบนกระดาากรองและการเก็บรักษาในกลีเซอรอล 10 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส เป็นวิธีการเก็บรักษาที่ดีที่สุดสำหรับรา C. gloeosporioides และรา C. capsici 10 ไอโซเลท ที่นำมาเก็บรักษา ราสามารถคงความมีชีวิตอยู่ได้ สร้างโคนิเดียได้ดี พบการปนเปื้อนน้อยที่สุด และจากการทดสอบความสามารถในการทำให้พืชเกิดโรคพบว่ารา C. gloeosporioides และรา C. capsici ทุกไอโซเลทที่นำมาปลูกเชื้อยังสามารถทำให้พืชเกิดโรคได้ รองลงมาคือ การเก็บรักษาในน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ การเก็บรักษาในสภาพสุญญากาศ การเก็บรักษาในน้ำมันพาราฟิน และการเก็บรักษาในสภาพแห้งบนซิลิกาเจล ตามลำดับ