การอนุรักษ์จุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช: ศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อรา Collectrichum spp. - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การอนุรักษ์จุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช: ศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อรา Collectrichum spp. (/showthread.php?tid=948) |
การอนุรักษ์จุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช: ศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อรา Collectrichum spp. - doa - 12-23-2015 การอนุรักษ์จุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช: ศึกษาเทคนิคการเก็บรักษาเชื้อรา Collectrichum spp. ธารทิพย ภาสบุตร, อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี และพรพิมล อธิปัญญาคม กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จากการศึกษาเทคนิคการเก็บรักษารา Collectrichum spp. โดยทำการเก็บรักษารา Collectrichum spp. ที่เป็นสาเหตุโรคแอนแทรคโนสพริก ได้แก่ รา C. gloeosporioides 5 ไอโซเลท และรา C. capsici 5 ไอโซเลท ด้วยวิธีการเก็บรักษา 6 วิธี คือ การเก็บรักษาในสภาพแห้งบนการะดาษกรอง การเก็บรักษาในน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ การเก็บรักษาในสภาพแห้งบนซิลิกาเจล การเก็บรักษาในน้ำมันพาราฟิน การเก็บรักษาในกลีเซอรอล 10 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส และการเก็บรักษาในสภาพแห้งสุญญากาศ เมื่อครบระยะการเก็บรักษาเป็นเวลา 2 4 6 และ 8 เดือน นำราที่เก็บรักษาไว้มาตรวจความมีชีวิต การบนเปื้อน การสร้างโคนิเดีย และความสามารถในการทำให้พืชเกิดโรค พบว่า วิธีการเก็บรักษาในสภาพแห้งบนกระดาากรองและการเก็บรักษาในกลีเซอรอล 10 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส เป็นวิธีการเก็บรักษาที่ดีที่สุดสำหรับรา C. gloeosporioides และรา C. capsici 10 ไอโซเลท ที่นำมาเก็บรักษา ราสามารถคงความมีชีวิตอยู่ได้ สร้างโคนิเดียได้ดี พบการปนเปื้อนน้อยที่สุด และจากการทดสอบความสามารถในการทำให้พืชเกิดโรคพบว่ารา C. gloeosporioides และรา C. capsici ทุกไอโซเลทที่นำมาปลูกเชื้อยังสามารถทำให้พืชเกิดโรคได้ รองลงมาคือ การเก็บรักษาในน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ การเก็บรักษาในสภาพสุญญากาศ การเก็บรักษาในน้ำมันพาราฟิน และการเก็บรักษาในสภาพแห้งบนซิลิกาเจล ตามลำดับ
|