การพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่มอร์กาโนฟอสฟอรัสในมังคุด
#1
การพัฒนาวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่มอร์กาโนฟอสฟอรัสในมังคุด
วิสุทธิ เชวงศรี, ปิยะศักดิ์ อรรคบุตร และชนิตา ทองแซม
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

         การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส 19 ชนิด ในมังคุด โดยใช้เครื่อง Gas chromatograph (GC) ชนิด Flame Photometric Detector (FPD) เพื่อให้ได้วิธีการตรวจวิเคราะห์ที่เหมาะสม รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ต่างๆ รวม 6 วิธีการ คือ วิธีการที่ 1 เป็นวิธีประยุกต์ของ Steinwandter 1985 โดยใช้ acetone dichloromethane และ NaCl ในการสกัด วิธีการที่ 2 วิธีประยุกต์ของ Steinwandter (1985) และขจัดสิ่งปนเปื้อนโดยใช้ sorbent ชนิด SAX และ PSA และชะด้วย acetone : hexane (3:7) วิธีการที่ 3 สกัดวิธีเดียวกับวิธีที่ 1 ขจัดสิ่งปนเปื้อนโดยการเติม SAX, PSA และ MgSO4 ลงในสารสกัด วิธีที่ 4 สกัดด้วย acetonitrile และ NA2SO4 วิธีการที่ 5 ประยุกต์วิธี QuEChERS ของ Anatacedes, et al.,(2003) สกัดด้วย acetonitrile, MgSO4 และ NaCl ขจัดสิ่งปนเปื้อนโดยใช้ PSA และ MgSO4 วิธีการที่ 6 การประยุกต์วิธี QuEChERS ของ EN Method สกัดด้วย acetonitrile และ Simpli Q EN QuEChERS extraction packet ขจัดสิ่งปนเปื้อนด้วย Simpli Q EN dispersive SPE ผลการทดลองพบว่า ทั้ง 6 วิธีการมีประสิทธิภาพในการตรวจสารพิษตกค้างได้เป็นส่วนใหญ่ โดยวิธีการที่ 1, 2, 4 และ 6 มีประสิทธิภาพในการตรวจสารพิษตกค้างได้ 18 ชนิด ยกเว้น azinphos ethyl วิธีการที่ 3 มีประสิทธิภาพในการตรวจสารพิษตกค้างได้ 17 ชนิด ยกเว้น azinphos ethyl วิธีการที่ 3 มีประสิทธิภาพในการตรวจสารพิษตกค้างได้ 17 ชนิด ยกเว้น azinphos ethyl และ DDVP ส่วนวิธีการที่ 5 ตรวจสอบสารได้เพียง 16 ชนิด ยกเว้น parathion-ethyl, pirimiphos-ethyl และ ethion สำหรับวิธีที่ให้ผลการวิเคราะห์ที่รวดเร็วที่สุดคือ วิธีการที่ 6


ไฟล์แนบ
.pdf   1905 (1)_2553.pdf (ขนาด: 1.87 MB / ดาวน์โหลด: 695)
.pdf   1905 (2)_2553.pdf (ขนาด: 1.85 MB / ดาวน์โหลด: 700)
.pdf   1905 (3)_2553.pdf (ขนาด: 1.6 MB / ดาวน์โหลด: 508)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม