12-09-2015, 11:31 AM
การศึกษาวิเคราะห์และปริมาณความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
วลัยกร รัตนเดชากุล, อุดร อุณหวุฒิ, สุรพล ยินอัศวพรรณ, ณัฏฐพร อุทัยมงคล, วรัญญา มาลี, อลงกต โพธิ์ดี, สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ, วาสนา ฤทธิ์ไธสง และคมสร แสงจินดา
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
วลัยกร รัตนเดชากุล, อุดร อุณหวุฒิ, สุรพล ยินอัศวพรรณ, ณัฏฐพร อุทัยมงคล, วรัญญา มาลี, อลงกต โพธิ์ดี, สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ, วาสนา ฤทธิ์ไธสง และคมสร แสงจินดา
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ผลการศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้พบว่า ศัตรูพืชกักกันที่มีโอกาสติดมากับผลส้ม ได้แก่ แมลง 35 ชนิด ไร 2 ชนิด รา 6 ชนิด และแบคทีเรีย 1 ชนิด ศัตรูพืชกักกันร้ายแรง 5 ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ แมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata, C. cosyra, C.rosa, C. quinaria และหนอนผีเสื้อเจาะผล Cryptophlebia leucotreta กำหนดวิธีกำจัดศัตรูพืชกักกันกับผลส้มส่งออก ดังนี้ ต้องกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นที่อุณหภูมิ -0.55 องศาเซลเซียส (31 องศาสฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่าเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 24 วัน หรือมากกว่า การกำจัดศัตรูพืชดำเนินการได้ทั้งก่อนการส่งออกและระหว่างขนส่ง หากเลือกการกำจัดด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งต้องลดอุรหภูมิผลไม้ให้ต่ำกว่า -0.55 องศาเซลเซียส เป็นการล่วงหน้านาน 72 ชั่วโมง หรือฉายรังสีผลส้มที่อัตรา 400 เกรยื ก่อนส่งออก ต้องขึ้นทะเบียนสวนส้ม ต้องขึ้นทะเบียนโรงงานบรรจุสินค้า ต้องมีระบบจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชกักกันในแปลงปลูกและโรงบรรจุสินค้า ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชที่มาพร้อมกับสินค้า และรับรองว่าส้มที่ส้งออกได้ดำเนินการตามเงื่อนไขการนำส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เข้าประเทศไทย ต้องประเมินกระบวนการตรวจรับรองศัตรุพืชของส้มที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สำหรับศัตรูพืชกักกันชนิดอื่นอาจใช้การกำจัดหรือจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชวิธีต่างๆ เช่น รมด้วยสารเมทิลโบรไมด์จัดการศัตรูพืชในระบบ (system approach) ซึ่งมีหลายวิธีร่วมกัน