คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การศึกษาวิเคราะห์และปริมาณความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐแอฟริกา - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8)
+--- เรื่อง: การศึกษาวิเคราะห์และปริมาณความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐแอฟริกา (/showthread.php?tid=760)



การศึกษาวิเคราะห์และปริมาณความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐแอฟริกา - doa - 12-09-2015

การศึกษาวิเคราะห์และปริมาณความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
วลัยกร รัตนเดชากุล, อุดร อุณหวุฒิ, สุรพล ยินอัศวพรรณ, ณัฏฐพร อุทัยมงคล, วรัญญา มาลี, อลงกต โพธิ์ดี, สุคนธ์ทิพย์ สมบัติ, วาสนา ฤทธิ์ไธสง และคมสร แสงจินดา
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ผลการศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลส้มสดนำเข้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้พบว่า ศัตรูพืชกักกันที่มีโอกาสติดมากับผลส้ม ได้แก่ แมลง 35 ชนิด ไร 2 ชนิด รา 6 ชนิด และแบคทีเรีย 1 ชนิด ศัตรูพืชกักกันร้ายแรง 5 ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ แมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata, C. cosyra, C.rosa, C. quinaria และหนอนผีเสื้อเจาะผล Cryptophlebia leucotreta กำหนดวิธีกำจัดศัตรูพืชกักกันกับผลส้มส่งออก ดังนี้ ต้องกำจัดศัตรูพืชด้วยความเย็นที่อุณหภูมิ -0.55 องศาเซลเซียส (31 องศาสฟาเรนไฮต์) หรือต่ำกว่าเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 24 วัน หรือมากกว่า การกำจัดศัตรูพืชดำเนินการได้ทั้งก่อนการส่งออกและระหว่างขนส่ง หากเลือกการกำจัดด้วยความเย็นระหว่างการขนส่งต้องลดอุรหภูมิผลไม้ให้ต่ำกว่า -0.55 องศาเซลเซียส เป็นการล่วงหน้านาน 72 ชั่วโมง หรือฉายรังสีผลส้มที่อัตรา 400 เกรยื ก่อนส่งออก ต้องขึ้นทะเบียนสวนส้ม ต้องขึ้นทะเบียนโรงงานบรรจุสินค้า ต้องมีระบบจัดการโรคและแมลงศัตรูพืชกักกันในแปลงปลูกและโรงบรรจุสินค้า ต้องมีใบรับรองสุขอนามัยพืชที่มาพร้อมกับสินค้า และรับรองว่าส้มที่ส้งออกได้ดำเนินการตามเงื่อนไขการนำส้มสดจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เข้าประเทศไทย ต้องประเมินกระบวนการตรวจรับรองศัตรุพืชของส้มที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สำหรับศัตรูพืชกักกันชนิดอื่นอาจใช้การกำจัดหรือจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชวิธีต่างๆ เช่น รมด้วยสารเมทิลโบรไมด์จัดการศัตรูพืชในระบบ (system approach) ซึ่งมีหลายวิธีร่วมกัน