12-09-2015, 09:36 AM
วิจัยและพัฒนาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัด แมลงวันผลไม้ในมะม่วงพันธุ์มหาชนก โชคอนันต์ และเขียวเสวยเพื่อการส่งออก
รัชฎา อินทรกำแหง, สลักจิต พานคำ, ชัยณรัตน์ สนศิริ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, ชุติมา อ้อมกิ่ง, จารุวรรณ จันทรา และอุดร อุณหวุฒิ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
รัชฎา อินทรกำแหง, สลักจิต พานคำ, ชัยณรัตน์ สนศิริ, มลนิภา ศรีมาตรภิรมย์, ชุติมา อ้อมกิ่ง, จารุวรรณ จันทรา และอุดร อุณหวุฒิ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ศึกษาเบื้องต้นเปรียบเทียบความทนทานต่อความร้อนของแมลงวันผลไม้ Bactrocera dorsalis ระยะหนอนวัยที่ 1 ซึ่งเป็นระยะที่ทนทานต่อความร้อนมากที่สุดในผลมะม่วงพันธ์เขียวเสวย มหาชนก และโชคอนันต์ เปรียบเทียบกับพันธุ์หนังกลางวัน ด้วยวิธีการอบไอน้ำแบบปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ (Modified Vapor Heat Treatment, MVHT ผลการศึกษาแสดงว่า หนอนวัย 1 ในมะม่วงโชคอนันต์มีความทนทานต่อความร้อนมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับพันธ์เขียวเสวย และมหาชนก จากผลจากการทดลองได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการอบไอน้ำ MVHT เพื่อกำจัดหนอนวัยแมลงวันผลไม้วัย 1 ในมะม่วงโชคอนันต์โดยทำการอบไอน้ำที่อุณหภูมิ 45, 46, 47, 47 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที, 15 นาที และ 20 นาที พบว่า ที่อุณหภูมิ 47.0 องศาเซลเซียส นาน 20 นาที สามารถกำจัดแมลงวันผลไม้วัย 1 ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำการศึกษาต่อโดยประเมินประสิทธิภาพของวิธีการอบไอน้ำ MVHT ในการกำจัดแมลงวันผลไม้จำนวนมาก (2,000 ตัว) (Intermediate disinfestations test) ในมะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ โดยการอบไอน้ำ MVHT ที่อุณหภูมิ 47 องศาเซลเซียส นาน 15, 20 และ 25 นาที ผลการทดลองพบว่า ทุกวิธีการมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงวันผลไม้วัย 1 ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ศึกษายืนยันประสิทธิภาพของวิธีการอบไอน้ำ MVHT ที่อุณหภูมิ 47.0 องศาเซลเซียส นาน 20 นาที เพื่อกำจัดหนอนวัยแมลงวันผลไม้วัย 1 จำนวนมาก ในมะม่วงโชคอนันต์ (Large scale confirmatory test) เพื่อใช้เป็นวิธีการทางด้านกักกันพืชสามารถประมาณการจำนวนหนอนแมลงวันผลไม้ที่ถูกกำจัดได้ 39,471 ตัว การศึกษาด้านผลกระทบของวิธีการอบไอน้ำ MVHT ต่อคุณภาพมะม่วงพบว่ากระบวนการอบไอน้ำที่เสนอเป็นวิธีการทางด้านกักันพืชไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพในการบริโภคของมะม่วงทั้ง 3 ชนิด