11-30-2015, 10:08 AM
การควบคุมโรคเน่าดำของกล้วยไม้โดยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi)
สุรีย์พร บัวอาจ, อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, ทัศนาพร ทัศคร, บุษราคัม อุดมศักดิ์, รุ่งนภา คงสุวรรณ และรัศมี เหล็กพรหม
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยและพัฒนาอารักขาพืช และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สุรีย์พร บัวอาจ, อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, ทัศนาพร ทัศคร, บุษราคัม อุดมศักดิ์, รุ่งนภา คงสุวรรณ และรัศมี เหล็กพรหม
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยและพัฒนาอารักขาพืช และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการเลี้ยงเห็ดเรืองแสง N. nambi ไอโซเลต PW2 ในอาหารเหลว MEB ตั้งเก็บไว้ในห้องมืดให้แสง 2 ชั่วโมงต่อวัน ที่ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วัน แล้วนำไปสกัดสารออกฤทธิ์ด้วยเอทิลอะซีเตต (ethyl acetate, EtOAc) ผลได้สาร aurisin A จำนวน 2.5 กรัม ส่วนการเก็บรวบรวมเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคเน่าดำของกล้วยไม้ จากศูนย์เก็บเชื้อ culture collections พบว่าเชื้อราที่แยกได้จากกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแวนดา ไม่สามารถเลี้ยงให้เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อได้ และเชื้อราที่ไม่บริสุทธิ์ จึงเก็บตัวอย่างเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคเน่าดำของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแวนดาใหม่โดยเก็บจากแหล่งปลูกกล้วยไม้ จ.นครปฐม จำนวน 1 ไอโซเลท เนื่องจากช่วงที่ไปสำรวจตัวอย่างสภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการเกิดโรค