การควบคุมโรคเน่าดำของกล้วยไม้โดยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5) +--- เรื่อง: การควบคุมโรคเน่าดำของกล้วยไม้โดยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง (/showthread.php?tid=470) |
การควบคุมโรคเน่าดำของกล้วยไม้โดยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง - doa - 11-30-2015 การควบคุมโรคเน่าดำของกล้วยไม้โดยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง (Neonothopanus nambi) สุรีย์พร บัวอาจ, อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, ทัศนาพร ทัศคร, บุษราคัม อุดมศักดิ์, รุ่งนภา คงสุวรรณ และรัศมี เหล็กพรหม กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยและพัฒนาอารักขาพืช และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากการเลี้ยงเห็ดเรืองแสง N. nambi ไอโซเลต PW2 ในอาหารเหลว MEB ตั้งเก็บไว้ในห้องมืดให้แสง 2 ชั่วโมงต่อวัน ที่ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วัน แล้วนำไปสกัดสารออกฤทธิ์ด้วยเอทิลอะซีเตต (ethyl acetate, EtOAc) ผลได้สาร aurisin A จำนวน 2.5 กรัม ส่วนการเก็บรวบรวมเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคเน่าดำของกล้วยไม้ จากศูนย์เก็บเชื้อ culture collections พบว่าเชื้อราที่แยกได้จากกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแวนดา ไม่สามารถเลี้ยงให้เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อได้ และเชื้อราที่ไม่บริสุทธิ์ จึงเก็บตัวอย่างเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคเน่าดำของกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแวนดาใหม่โดยเก็บจากแหล่งปลูกกล้วยไม้ จ.นครปฐม จำนวน 1 ไอโซเลท เนื่องจากช่วงที่ไปสำรวจตัวอย่างสภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการเกิดโรค
|