11-23-2015, 02:33 PM
การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ศรีวิเศษ เกษสังข์, วันเพ็ญ ศรีชาติ, วานิช คำพานิช, ปรียพรรณ พงศาพิชณ์ และโสภา มีอำนาจ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ศรีวิเศษ เกษสังข์, วันเพ็ญ ศรีชาติ, วานิช คำพานิช, ปรียพรรณ พงศาพิชณ์ และโสภา มีอำนาจ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ถั่วฝักยาว (Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis (L) Verdc.) จากสืบค้นข้อมูลศัตรูพืชที่เข้าทำลายถั่วฝักยาว มีศัตรูพืชทั้งสิ้น 266 ชนิด จัดเป็นแมลง 140 ชนิด ไรและแมงมุม 5 ชนิด ไส้เดือนฝอย 24 ชนิด เชื้อรา 39 ชนิด แบคทีเรีย 12 ชนิด ไวรัส 27 ชนิด และวัชพืช 19 ชนิด และจากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคและศัตรูพืชกับเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวในห้องปฏิบัติการ โดยสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวนำเข้าระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2555 จาก 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และอินเดีย จำนวน 19 ตัวอย่าง น้ำหนัก 14.472 ตัน ทำการตรวจสอบศัตรูพืชเบื้องต้นด้วยตาเปล่า (Visual inspection) และภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่า เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวที่นำเข้าไม่พบร่องรอยการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชหรือการปนเปื้อนของวัชพืช และจากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคพืชกับเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Blotter method และ Dilution plate method ตรวจพบเชื้อรา Fusarium semitectum, Cladosporium sp., Curvularia pallescens และ Phoma sp.ในเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และจากการนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกสังเกตอาการของโรค (Seedling symptom test) ในสถานกักพืช ไม่พบอาการผิดปกติกับต้นถั่วฝักยาวดังกล่าว และได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบโรคและศัตรูพืชในแปลงปลูกพืชถั่วฝักยาว ในท้องที่จังหวัดนครปฐม และราชบุรี ตรวจพบอาการใบด่าง (Mosaic) ที่เกิดจาก Cowpea Aphid borne mosaic virus และอาการโรคราสนิม (Rust) ที่เกิดจากเชื้อรา Uromyces sp. และราแป้ง (Powdery mildew) ที่เกิดจากเชื้อ Oidium sp. ซึ่งเป็นเชื้อโรคศัตรูพืชที่มีรายงานในประเทศไทย และไม่พบโรคและศัตรูพืชที่ร้ายแรงทางกักกันพืช