คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวที่นำเข้าจากต่างประเทศ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=5)
+--- เรื่อง: การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวที่นำเข้าจากต่างประเทศ (/showthread.php?tid=418)



การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวที่นำเข้าจากต่างประเทศ - doa - 11-23-2015

การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ศรีวิเศษ เกษสังข์, วันเพ็ญ ศรีชาติ, วานิช คำพานิช, ปรียพรรณ พงศาพิชณ์ และโสภา มีอำนาจ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ถั่วฝักยาว (Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis (L) Verdc.) จากสืบค้นข้อมูลศัตรูพืชที่เข้าทำลายถั่วฝักยาว มีศัตรูพืชทั้งสิ้น 266 ชนิด จัดเป็นแมลง 140 ชนิด ไรและแมงมุม 5 ชนิด ไส้เดือนฝอย 24 ชนิด เชื้อรา 39 ชนิด แบคทีเรีย 12 ชนิด ไวรัส 27 ชนิด และวัชพืช 19 ชนิด และจากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคและศัตรูพืชกับเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวในห้องปฏิบัติการ โดยสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวนำเข้าระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2555 จาก 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และอินเดีย จำนวน 19 ตัวอย่าง น้ำหนัก 14.472 ตัน ทำการตรวจสอบศัตรูพืชเบื้องต้นด้วยตาเปล่า (Visual inspection) และภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่า เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวที่นำเข้าไม่พบร่องรอยการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชหรือการปนเปื้อนของวัชพืช และจากการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคพืชกับเมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาวในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Blotter method และ Dilution plate method ตรวจพบเชื้อรา Fusarium semitectum, Cladosporium sp., Curvularia pallescens และ Phoma sp.ในเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และจากการนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกสังเกตอาการของโรค (Seedling symptom test) ในสถานกักพืช ไม่พบอาการผิดปกติกับต้นถั่วฝักยาวดังกล่าว และได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบโรคและศัตรูพืชในแปลงปลูกพืชถั่วฝักยาว ในท้องที่จังหวัดนครปฐม และราชบุรี ตรวจพบอาการใบด่าง (Mosaic) ที่เกิดจาก Cowpea Aphid borne mosaic virus และอาการโรคราสนิม (Rust) ที่เกิดจากเชื้อรา Uromyces sp. และราแป้ง (Powdery mildew) ที่เกิดจากเชื้อ Oidium sp. ซึ่งเป็นเชื้อโรคศัตรูพืชที่มีรายงานในประเทศไทย และไม่พบโรคและศัตรูพืชที่ร้ายแรงทางกักกันพืช