การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ A. cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ T.pacificus
#1
การใช้และอนุรักษ์ไรตัวห้ำ Amblyseius cinctus เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ Tenuipalpus pacificus
มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวนวัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และวิมลวรรณ โชติวงศ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการศึกษาการใช้ ไรตัวห้ำ Amblyseius cinctus Corpuz-Raros & Rimando เพื่อควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ , Tenuipalpus pacificus Baker ในระหว่างปี 2554 – 2555 ณ ห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โดยศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ A. cinctus เป็นปริมาณมาก ผลการทดลองพบว่า สามารถเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ A. cinctus เป็นปริมาณมากด้วยการใช้ ไรขาวพริกเป็นเหยื่อ นอกจากนั้น ไรตัวห้ำ A. cinctus ยังสามารถกินเกสรธูปฤาษี และเกสรหญ้าตีนต๊กแกเป็นอาหารได้ ด้วย ไรตัวห้ำมีประสิทธิภาพกินไรแมงมุมเทียมกล้ วยไม้ได้เฉลี่ยวันละ 14.75 ตัว วางไข่ได้เฉลี่ยวันละ 1.3 ฟอง การทดสอบประสิทธิภาพของไรตัวห้ำ A.cinctus ในการควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้ วยไม้ ในเรือนทดลองพบว่า การปล่อยไรตัวห้ำอัตรา 2 ตัวต่อต้ น และ 5 ตัวต่อต้ น ทุกสัปดาห์รวม 7 ครั้ง และกรรมวิธีพ่นสารฆ่าไร pyridaben 20% WP อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์ ให้ ผลในการควบคุมไรแมงมุมกล้ วยไม้ ได้ ผลดีแตกต่างทางสถิติจากกรรมวิธีควบคุม และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกรรมวิธีปล่อยไรตัวห้ำทั้ง 2 อัตรา และกรรมวิธีพ่นสารฆ่าไร pyridaben 20%WP พบว่า ทั้งการปล่อยไรตัวห้ำและการพ่นสารฆ่าไรให้ ผลการควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้ วยไม้ได้ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ การปล่อยไรตัวห้ำอัตรา 2, 5 ตัวต่อต น และการพ่นสาร pyridaben 20% WP สามารถควบคุมไรแมงมุมเทียมกล้วยไม้ ได้ เฉลี่ย 64.8, 75.6 และ 88.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   2310_2555.pdf (ขนาด: 619.02 KB / ดาวน์โหลด: 603)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม