การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า
#1
การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒
เบญจวรรณ  จำรูญพงษ์, สุรไกร สังฆสุบรรณ์, ชนภัทร วินยวัฒน์, เรืองสิทธิ์ ตันกาญจนานุรักษ์, บุปผา เตชะภัทรพร, ธนิต ชังถาวร, 
เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ, วินัย เพชรบุรี, จารุวรรณ จาติกเสถียร, ป่าน ปานขาว, ชุติมา รัตนเสถียร และธิดากุญ แสนอุดม
สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช, สำนักผู้เชี่ยวชาญ, อัยการจังหวัดประจาสานักงานอัยการสูงสุด, ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, หัวหน้าภาควิชานิติศาสตร์และรองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

          พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายเฉพาะที่นอกจากจะให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาต่อพันธุ์พืชใหม่แล้ว ยังเป็นเครื่องมือทางกฎหมายในการอนุรักษ์และการป้องกันการฉกฉวยทรัพยากรพันธุกรรมพืชที่มีอยู่แล้วในประเทศไทยด้วย เพราะ ได้บรรจุหลักการเรื่องการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพไว้รวมกับหลักการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ โดยกำหนดไว้ในมาตรา 52 ว่าการเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชเหล่านี้ เพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่มีอำนาจหรือจากผู้เป็นเจ้าของแล้วแต่กรณี และจะต้องทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ด้วย ในกรณีที่มีผลประโยชน์ที่ได้รับจากข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์เป็นรูปตัวเงินจะต้องนำส่วนหนึ่งของรายได้เหล่านี้เข้ากองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือ และอุดหนุนกิจการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ วิจัย พัฒนาพันธุ์พืช ในกรณีที่ฝ่าฝืนไม่ทำการขออนุญาตการใช้ประโยชน์ ผู้ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          การศึกษาทดลองวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการเจรจาต่อรองเพื่อการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่าเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยมีการยกร่างข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามมาตรา 52 (ร่าง) กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปหรือพันธุ์พืชป่า เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลองหรือวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการค้า และการทาข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ พ.ศ. .... (ฉบับสุดท้ายที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ตรวจพิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2549) ต่อมา กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร จึงได้เริ่มให้มีการศึกษากระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดย1) การประชุมระดมความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชนหลายครั้ง ได้แก่ เมื่อ วันที่ 26 มีนาคม 2551, 25 มิถุนายน 2551, 3 และ 25 กรกฎาคม 2551 และ 27 สิงหาคม 2551 2) การออกแบบสอบถาม เรื่อง การศึกษา วิจัยประสิทธิภาพและศักยภาพในการปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ให้แก่หน่วยงาน และ/หรือ ผู้ที่ดำเนินงานด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ เน้นข้าวโพด เป็นหลัก และมีแนวโน้มที่จะนาพันธุ์พืชดังกล่าวไปขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และ/หรือ ใช้ประโยชน์ในทางการค้า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2552 เพื่อสำรวจ รวบรวมข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นจากหน่วยงานและ/หรือ บุคคลดังกล่าวเกี่ยวกับเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน (ร่าง) ข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้พันธุ์พืช ตามมาตรา 52 ว่าสามารถบังคับใช้ได้จริงหรือไม่ เพียงใด มีปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้หรือไม่ 3) หลังจากการประมวลและวิเคราะห์ผลจากแบบสอบถามดังกล่าวแล้ว เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นของการบังคับใช้ (ร่าง) ข้อตกลงฯ ภายใต้ (ร่าง) กฎกระทรวงฯ มาตรา 52 จึงได้จัดการสัมมนาเมื่อวันที่ 3-4 มิถุนายน 2552 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และเมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายน 2552 ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ เรื่อง (ร่าง) ข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้สอดคล้องกับ (ร่าง) กฎกระทรวง ตามมาตรา 52 และการทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ โดยการจัดกิจกรรมบทบาทสมมุติ โดยใช้ข้าวโพด เป็นกรณีศึกษาต่อเนื่อง มีการแบ่งกลุ่มและแต่ละกลุ่มแยกเป็น ส่วนที่หนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ส่วนที่สอง เป็นผู้ประสงค์ยื่นคำขอคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ ผ่าน 4 กรณีศึกษาของข้าวโพดที่มีเงื่อนไขแตกต่างกัน ซึ่งผลจากการศึกษาวิจัยกิจกรรมบทบาทสมมุติในการเจรจาต่อรองผลประโยชน์โดยใช้ข้าวโพดเป็นกรณีศึกษานั้น กล่าวได้ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมทางวิชาการของกรมวิชาการเกษตรที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นหลักฐานรองรับและอ้างอิงได้ ดังนี้ 1) ได้ (ร่าง) ข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดใน (ร่าง) กฎกระทรวงฯ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปหรือพันธุ์พืชป่า เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลองหรือวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการค้าและการทาข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ พ.ศ. .... (ฉบับสุดท้ายที่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว) 2) เป็นการเตรียมความพร้อมทางวิชาการของกรมวิชาการเกษตร โดยมีผลการศึกษาวิจัยเป็นหลักฐานอ้างอิงสาหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายในการดำเนินงานจัดทำ (ร่าง) ข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ให้สอดคล้องและรองรับกับ (ร่าง) กฎกระทรวงฯ ในข้อ 1 เนื่องจาก ตามมาตรา 19 กำหนดให้ผู้ยื่นคำขอรับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ หากพันธุ์พืชใหม่ที่ยื่นขอนั้น มาจากกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ที่มีการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่า (คือ เป็นสายพันธุ์พ่อ และ/หรือ แม่) พันธุ์พืชใหม่ตัวนั้นจะได้รับความคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องมีการจัดทาข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ ตามมาตรา 52 ปัจจุบัน มีพืชหลายพันธุ์ที่ดาเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและการทดสอบเปรียบเทียบพันธุ์ในแปลงภาคสนามเสร็จสิ้นแล้ว แต่กรมวิชาการเกษตรไม่สามารถออกใบประกาศรับจดทะเบียนให้เป็นพันธุ์พืชใหม่ได้ เนื่องจาก ไม่ครบตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎหมาย การที่พันธุ์พืชใหม่เหล่านั้นไม่ได้รับการจดทะเบียนทาให้เจ้าของพันธุ์พืชใหม่นั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา และหากระยะเวลาเนิ่นนานออกไปมากเท่าไร พันธุ์ดังกล่าวอาจกลายไปเป็นพันธุ์ที่ไม่ได้รับความนิยมในตลาดไปเสียก่อนที่จะได้รับสิทธิคุ้มครองทางกฎหมาย  3) เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามและประกาศกำหนดเป็นกฎกระทรวงฯ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กรมวิชาการเกษตรจะต้องออกประกาศกรมวิชาการเกษตรว่าด้วยข้อตกลงแบ่งปันผล ประโยชน์ และแนวทางปฏิบัติและบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 52 ภายในทันที หากเป็นไปได้ควรจักได้มีการเตรียมการตั้งแต่ขั้นตอนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องลงนามในกฎกระทรวงฯ โดยดาเนินการเสนอให้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาไปพร้อมกัน เพื่อจักได้มีผลใช้บังคับได้ทันที  4) ได้แนวทาง วิธีการ และขั้นตอนการกำหนดกรอบการเจรจาต่อรองเพื่อจัดทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่าในเชิงการค้า ซึ่งรายได้จากการแบ่งปันผลประโยชน์ดังกล่าวจะเข้าสู่กองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช เพื่อจัดสรรให้แก่ชุมชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้ในการดูแล บำรุงรักษา อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชอย่างยั่งยืนต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1880_2554.pdf (ขนาด: 173.07 KB / ดาวน์โหลด: 1,172)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม