10-28-2022, 03:19 PM
พัฒนาเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านกระบวนการเรียนรู้การผลิตมันสำปะหลังจังหวัดขอนแก่น
สรรเสริญ เสียงใส และอรัญญ์ ขันติยวิชย์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
คำหลัก: มันสำปะหลัง กระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
สรรเสริญ เสียงใส และอรัญญ์ ขันติยวิชย์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
พัฒนาเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านกระบวนการเรียนรู้การผลิตมันสำปะหลังจังหวัดขอนแก่น เป็นการนำผลทดสอบยกระดับผลผลิตมันสำปะหลังของชุมชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น นำไปขยายผลให้แก่เกษตรกรเป็นรายแปลงในแต่ละกลุ่มของระดับผลผลิตในชุมชน โดยกำหนดให้เป็นแปลงต้นแบบให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆ ปี 2563 ได้คัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมการทดสอบ (เกษตรกรต้นแบบ) จำนวน 6 ราย ได้นำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์โดยใช้ soil test kit ของกรมวิชาการเกษตรพบว่า pH ของดินอยู่ระหว่าง 4.0 - 5.5 ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM,%) 1 % ปริมาณฟอสฟอรัส 10 - 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้เป็นกลาง ใส่อัตราปุ๋ยที่เกษตรกรแปลงต้นแบบดังนี้ 16-8-8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี จำนวน 1 ราย และ 16-4-8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรี จำนวน 5 ราย พบว่า เกษตรกรต้นแบบสามารถผลิตมันสำปะหลังโดยวิธีการทดสอบได้ผลผลิต 4,279 - 7,106 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีการของเกษตรกรได้ผลผลิต 3,867 - 5,647 กิโลกรัมต่อไร่ จากค่าเฉลี่ยผลผลิตวิธีการทดสอบให้ผลผลิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยผลผลิตวิธีการเกษตรกร 1,305 กิโลกรัมต่อไร่ แต่การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรีร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยสูงกว่าวิธีของเกษตรกร จำนวน 142 บาท แต่สามารถเพิ่มรายได้เฉลี่ยให้แก่เกษตรกร 2,739 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28.6 (ราคาหัวมันสำปะหลังสด กิโลกรัมละ 2.10 บาท) ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีความรู้ ความเข้าใจ ก่อนการฝึกอบรม ระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 85 มีความรู้ ความเข้าใจ ก่อนการฝึกอบรม ระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 100 ได้ประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการฝึกอบรมการถ่ายทอดความรู้มีความชัดเจน การสร้างบรรยากาศในการฝึกอบรมและ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมแสดงความคิดเห็น ระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 100 ส่วนปี 2564 ได้คัดเลือกเกษตรกรแปลงต้นแบบจำนวน 5 ราย ได้นำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์โดยใช้ Soil Test Kit ของกรมวิชาการเกษตรพบว่า pH ของดินอยู่ระหว่าง 4.0 - 5.5 ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM,%) 1 % ปริมาณฟอสฟอรัส 10 - 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้เป็นกลาง อัตราปุ๋ยที่เกษตรกรแปลงต้นแบบใช้ ได้แก่ 16-8-8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ จำนวน 3 ราย และ 16-4-8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ จำนวน 2 ราย (Table 11) โดยเกษตรกรได้นำปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-ทรีร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินแล้ว พบว่าเกษตรกรต้นแบบสามารถผลิตมันสำปะหลังโดยวิธีการทดสอบได้ผลผลิต 1,956 - 6,267 กิโลกรัมต่อไร่ จากการสุ่มผลผลิตพบว่าผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรต้นแบบต่ำมาก เนื่องจากในเดือนกันยายน 2564 มีปริมาณฝนตกค่อนข้างสูงมาก คือ 238.4 มิลลิเมตร ทำให้หัวมันสำปะหลังของเกษตรกรเกิดอาการเน่าเป็นจำนวนมาก แต่ต้นทุนเฉลี่ยการผลิตมันสำปะหลังต่ำ จำนวน 2,771 บาทต่อไร่ ทำให้เกษตรกรยังสามารถได้กำไรจากการผลิตมันสำปะหลัง จำนวน 6,784 บาทต่อไร่ (ราคาหัวมันสำปะหลังสด กิโลกรัมละ 2.50 บาท) และมีค่า BCR เท่ากับ 3.45 ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังพบว่า ด้านการนำความรู้ไปใช้เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังที่มีประสิทธิภาพได้ ระดับ 4.51
คำหลัก: มันสำปะหลัง กระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย