วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลแปรรูปในกระบวนการทำแป้งจากธัญพืชและผลผลิตเกษตร
#1
วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลแปรรูปในกระบวนการทำแป้งจากธัญพืชและผลผลิตเกษตรระดับกลุ่มเกษตรกร
จิรวัสส์ เจียตระกูล, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, มานพ รักญาติ, วิบูลย์ เทเพนทร์, สมเดช ไทยแท้, สุภาษิต เสงี่ยมพงศ์ และอัคคพล เสนำณรงค์

วิจัยและพัฒนาเครื่องคัดขนาดแป้งโดยใช้ลม
มานพ รักญาติ, ปรีชา อานันทืรัตนกุล, จิรวัสส์ เจียตระกูล, วิบูลย์ เทเพนทร์ และสุเมธ กาศสกุล

      กระบวนการผลิตแป้งจากเมล็ดธัญพืช ได้แก่ แป้งถั่วเขียวและแป้งบัวหลวง ก่อนนำไปผลิตเป็นอาหารหรือใช้ในอุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้องมีการคัดขนาดเพื่อให้ได้เม็ดแป้งละเอียดตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์แป้งธัญพืช การวิจัยและพัฒนาเครื่องคัดขนาดแป้งโดยใช้ลมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดขนาดแป้งโดยใช้ลมแบบไซโคลนสำหรับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ให้สามารถผลิตแป้งที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด

      เครื่องคัดขนาดแป้งโดยใช้ลมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ชุดคัดแป้ง ชุดพัดลม ไซโคลนดักเก็บแป้งละเอียด ถาดรองรับแป้งหยาบ และชุดควบคุมความเร็วรอบของพัดลม ผลการทดสอบที่ความเร็วลม 1.5, 2.0, 2.5 และ 3.0 เมตร/วินาที ในการคัดขนาดแป้งถั่วเขียว และแป้งบัวหลวง ที่ความสามารถในการทำงานเครื่อง 150 กิโลกรัม/ชั่วโมง พบว่าความเร็วลม 2.5 เมตร/วินาที ให้ผลการทดสอบดีที่สุด ผลการคัดขนาดแป้งถั่วเขียว ที่ความชื้น 9% เครื่องมีประสิทธิภาพการคัดเฉลี่ย 84.04% สูญเสียออกช่องระบายลมสะอาด 0.94% สุ่มก่อนคัดมีแป้งหยาบปนเฉลี่ย 11.30% หลังคัดมีแป้งหยาบปนเฉลี่ย 1.30% และการคัดขนาดแป้งบัวหลวงที่ความชื้น 8.5% เครื่องมีประสิทธิภาพการคัดเฉลี่ย 83.94% สูญเสียออกช่องระบายลมสะอาด 1.03% สุ่มก่อนคัดมีแป้งหยาบปนเฉลี่ย 13.32% หลังคัดมีแป้งหยาบปนเฉลี่ย 1.31% ซึ่งการปนของแป้งหยาบ (ขนาดมากกว่า 180 ไมครอน) ในแป้งละเอียดที่คัดได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ มอก. แป้งธัญพืช คือ ไม่เกิน 2.5 % (สัดส่วนโดยน้ำหนัก)

วิจัยและพัฒนาเครื่องแยกเปลือกจากถั่วเขียวซีกแช่น้ำ
ปรีชา อานันท์รัตนกุล, วิบูลย์ เทเพนทร์, มานพ รักญาติ และจิรวัสส์ เจียตระกูล

          การแปรรูปถั่วเขียวเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ส่วนใหญ่ขั้นตอนแรก คือ การกะเทาะเปลือก เพื่อแยกเอาเปลือกออก เนื่องจากเปลือกมีผลกระทบต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้าน สี กลิ่น และอาจรวมถึงรสชาติ และเปลือกถั่วเขียวเป็นสาเหตุที่ทาให้โปรตีนถั่วเขียวมีคุณภาพไม่ดีในด้านสี และกลิ่น

          การกะเทาะเปลือกออก เป็นขั้นตอนที่ใช้ทั้งเวลาและแรงงานอย่างมาก การวิจัยและพัฒนาเครื่องแยกเปลือกจากถั่วเขียวซีกแช่น้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้แรงงานและเวลาในการล้างเปลือกถั่วเขียวผ่าซีก ได้ดำเนินการออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ส่วนชุดขัดเปลือกถั่วเขียวผ่าซีกแช่น้ำ ใช้วิธีการขัดเปลือกถั่วเขียวผ่าซีกในเสื้อทรงกระบอก โดยใช้ต้นกาลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด ½ แรงม้า และส่วนของชุดลอยแยกเปลือก ซึ่งพบว่าการลอยแยกเปลือก แบบสวนทิศทางกระแสน้าให้ผลการทดสอบที่ดี จากการทดสอบเครื่องต้นแบบ พบว่ามีความสามารถในการทางาน 30 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยถั่วเขียวที่ได้มีการแตกหักเพิ่ม 2.11 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเร็วรอบในการขัด 500 รอบต่อนาที มีเปลือกเจือปนในถุงเก็บเนื้อถั่วเขียว 1.33 เปอร์เซ็นต์

วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการทำแป้งจากเม็ดบัว
จิรวัสส์ เจียตระกูล, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, มานพ รักญาติ และวิบูลย์ เทเพนทร์

          การพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการทำแป้งจากเม็ดบัว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการแปรรูปเม็ดบัวแห้ง ประกอบไปด้วย 3 เครื่องต้นแบบ ได้แก่ เครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดบัวแห้ง เครื่องแทงดีเม็ดบัวแห้ง และเครื่องขัดลอกเยื่อเม็ดบัวแห้ง เม็ดบัวแห้งที่นำมาทาการทดสอบมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 11.69 มิลลิเมตร ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบเครื่องต้นแบบทั้ง 3 เครื่อง เครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดบัวแห้งต้นแบบ ใช้ลูกกลิ้งขึ้นลายแบบเกลียวสำหรับปอกเปลือกจานวน 2 ลูก และมีลูกกลิ้งขนาดเล็กสำหรับกดเม็ดบัวอีก 1 ลูก เม็ดบัวแห้งเคลื่อนที่เข้าหาชุดลูกกลิ้งด้วยเกลียวลาเลียง สามารถกะเทาะเปลือกได้เม็ดบัวที่สมบูรณ์เฉลี่ย 78.2 เปอร์เซ็นต์ เม็ดแตกเสียหายเฉลี่ย 12.6 เปอร์เซ็นต์ และเม็ดบัวที่ไม่ถูกกะเทาะเฉลี่ย 9.2 เปอร์เซ็นต์ เครื่องแทงดีบัวแห้ง มีหลักการทางานด้วยการเจาะรูที่บริเวณขั้วของเม็ดบัวแห้งด้วยดอกสว่านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร เม็ดบัวแห้งหลังผ่านการกเทาะเปลือกถูกบรรจุลงในถาดเจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 95 มิลิเมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ความเร็ว 6.5 รอบต่อนาที (1.94 เมตรต่อนาที) มีความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 1.04 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เม็ดบัวที่ผ่านการเจาะโดยสมบูรณ์เฉลี่ย 69.5 เปอร์เซ็นต์ เม็ดแตกเสียหาย และเจาะไม่ตรงตาแหน่งรวมกัน 30.5 เปอร์เซ็นต์ เครื่องขัดลอกเยื่อเม็ดบัวแห้งที่ผ่านการกะเทาะเปลือกและแทงดีบัวออกแล้วมีส่วนประกอบของถังบรรจุเม็ดบัวที่ติดกระดาษทรายไว้บริเวณผนัง และมีชุดจานหมุนบริเวณด้านล่างทำหน้าที่หมุนให้เม็ดบัวเคลื่อนที่ โดยอาศัยหลักการของแรงเสียดทานระหว่างเม็ดบัว และผนังทำให้เกิดการขัดผิวของเม็ดบัว เลือกใช้กระดาษทรายเบอร์ 100 ใช้เวลาในการขัดเฉลี่ย 35 นาที ส่วนที่ถูกขัดออกไปคิดเป็นสัดส่วนน้าหนักเฉลี่ย 7.5 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   64_2561.pdf (ขนาด: 4.42 MB / ดาวน์โหลด: 1,116)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม