06-04-2019, 02:15 PM
การประเมินและการลดการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์ในระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในแหล่งผลิตที่สาคัญ
สมชาย บุญประดับ, นฤนาท ชัยรังษี, จิตอาภา จิจุบาล, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง, ดรุณี สมณะ, รุ่งทิวา ดารักษ์ และอรรถพล รุกขพันธ์
สำนักผู้เชี่ยวชาญ, สำสานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
สมชาย บุญประดับ, นฤนาท ชัยรังษี, จิตอาภา จิจุบาล, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง, ดรุณี สมณะ, รุ่งทิวา ดารักษ์ และอรรถพล รุกขพันธ์
สำนักผู้เชี่ยวชาญ, สำสานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
ได้ดำเนินการทดสอบแปลงใหญ่ ประกอบด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรในการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่สาคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน และไม้ผลเศรษฐกิจที่สาคัญ ได้แก่ ลำไย มังคุด ทุเรียน และกาแฟอะราบิก้า เปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกรปฏิบัติอยู่ ดำเนินการในไร่เกษตรกร จังหวัดนครราชสีมา กำแพงเพชร ตาก และสุราษฎร์ธานี สำหรับพืชไร่ และไร่เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน นครศรีธรรมราช ศรีสะเกษ และเพชรบูรณ์ สำหรับไม้ผล ในปี 2561 ผลการดำเนินการประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐานในการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่สาคัญ พบว่าปาล์มน้ำมัน มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐานมากที่สุด 1,712 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ รองลงมา คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย และมันสำปะหลัง มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐาน 990 448 และ 160 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ ตามลำดับ เมื่อดำเนินการตามมาตรการลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ โดยใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร พบว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์มากที่สุด 814 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ รองลงมาคือ ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ 450 263 และ 175 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ ตามลำดับ สำหรับผลการดำเนินงานประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐานในระบบการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่สาคัญ พบว่าลำไย มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐานมากที่สุด 5,251 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ รองลงมาคือ มังคุด ทุเรียน และกาแฟอะราบิก้า มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐาน 706, 677 และ 166 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ ตามลำดับ เมื่อดำเนินการตามมาตรการลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ โดยใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรจากแปลงเกษตรกรต้นแบบของไม้ผลเศรษฐกิจ พบว่าลำไย มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์มากที่สุด 3,009 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ รองลงมาคือ กาแฟอะราบิก้า ทุเรียน และมังคุด มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ 658, 134 และ 121 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ ตามลำดับ จากผลการทดลองตามมาตรการลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ โดยใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร สามารถสรุปได้ว่า การผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์มากที่สุดตามมาตรการ คือ ปาล์มน้ำมัน รองลงมา คือ อ้อย และข้าวโพด ในขณะที่มันสำปะหลัง มีการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์เพิ่มขึ้นเมี่อดำเนินการตามมาตรการ สำหรับการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์มากที่สุดตามมาตรการ คือ ลำไย รองลงมา คือ ทุเรียน และมังคุด ในขณะที่กาแฟอะราบิก้า มีการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์เพิ่มขึ้นเมื่อดำเนินการตามมาตรการ เมื่อดำเนินการตามมาตรการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร สามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 44