คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การประเมินและการลดการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์ในระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในแหล่งผลิตที่ส - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: การประเมินและการลดการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์ในระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในแหล่งผลิตที่ส (/showthread.php?tid=2689)



การประเมินและการลดการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์ในระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในแหล่งผลิตที่ส - doa - 06-04-2019

การประเมินและการลดการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์ในระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจในแหล่งผลิตที่สาคัญ
สมชาย บุญประดับ, นฤนาท ชัยรังษี, จิตอาภา จิจุบาล, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง, ดรุณี สมณะ, รุ่งทิวา ดารักษ์ และอรรถพล รุกขพันธ์
สำนักผู้เชี่ยวชาญ, สำสานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

          ได้ดำเนินการทดสอบแปลงใหญ่ ประกอบด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรในการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่สาคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์มน้ำมัน และไม้ผลเศรษฐกิจที่สาคัญ ได้แก่ ลำไย มังคุด ทุเรียน และกาแฟอะราบิก้า เปรียบเทียบกับวิธีเกษตรกรปฏิบัติอยู่ ดำเนินการในไร่เกษตรกร จังหวัดนครราชสีมา กำแพงเพชร ตาก และสุราษฎร์ธานี สำหรับพืชไร่ และไร่เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน นครศรีธรรมราช ศรีสะเกษ และเพชรบูรณ์ สำหรับไม้ผล ในปี 2561 ผลการดำเนินการประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐานในการผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่สาคัญ พบว่าปาล์มน้ำมัน มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐานมากที่สุด 1,712 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ รองลงมา คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย และมันสำปะหลัง มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐาน 990 448 และ 160 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ ตามลำดับ เมื่อดำเนินการตามมาตรการลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ โดยใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร พบว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์มากที่สุด 814 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ รองลงมาคือ ปาล์มน้ำมัน อ้อย และมันสำปะหลัง มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ 450 263 และ 175 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ ตามลำดับ สำหรับผลการดำเนินงานประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐานในระบบการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่สาคัญ พบว่าลำไย มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐานมากที่สุด 5,251 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ รองลงมาคือ มังคุด ทุเรียน และกาแฟอะราบิก้า มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในปีฐาน 706, 677 และ 166 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ ตามลำดับ เมื่อดำเนินการตามมาตรการลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ โดยใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรจากแปลงเกษตรกรต้นแบบของไม้ผลเศรษฐกิจ พบว่าลำไย มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์มากที่สุด 3,009 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ รองลงมาคือ กาแฟอะราบิก้า ทุเรียน และมังคุด มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ 658, 134 และ 121 กก.ของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่ ตามลำดับ จากผลการทดลองตามมาตรการลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ โดยใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร สามารถสรุปได้ว่า การผลิตพืชไร่เศรษฐกิจที่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์มากที่สุดตามมาตรการ คือ ปาล์มน้ำมัน รองลงมา คือ อ้อย และข้าวโพด ในขณะที่มันสำปะหลัง มีการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์เพิ่มขึ้นเมี่อดำเนินการตามมาตรการ สำหรับการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์มากที่สุดตามมาตรการ คือ ลำไย รองลงมา คือ ทุเรียน และมังคุด ในขณะที่กาแฟอะราบิก้า มีการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์เพิ่มขึ้นเมื่อดำเนินการตามมาตรการ เมื่อดำเนินการตามมาตรการใช้ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร สามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ในระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 44