04-22-2019, 10:58 AM
ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชผสมกับสารกำจัดเพลี้ยไฟในข้าวนาหว่านนำตมที่มีผลต่อหญ้าข้าวนก
ยุรวรรณ อนันตนมณี, จรรยา มณีโชติ, ปรัชญา เอกฐิน, จรัญญา ปิ่นสุภา และธีรทัย บุญญะปะภา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ยุรวรรณ อนันตนมณี, จรรยา มณีโชติ, ปรัชญา เอกฐิน, จรัญญา ปิ่นสุภา และธีรทัย บุญญะปะภา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการสัมภาษณ์เกษตกรในพื้นที่ปลูกข้าวในจังหวัด นครนายกจำนวน 34 ราย และปทุมธานี จำนวน 36 ราย รวมทั้งสิ้น 70 ราย พบว่าเกษตรกรจำนวน 43 ราย คิดเป็น 61.4 เปอร์เซ็นต์ มีพฤติกรรมในการใช้สารกำจัดวัชพืชผสมกับสารกำจัดเพลี้ยไฟ จากจำนวนเกษตรกรที่มีการใช้สารผสมให้เหตุผลว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชผสมกับสารกำจัดเพลี้ยไฟในนาข้าวเป็นการลดต้นทุนในการผลิตและเป็นการประหยัดเวลาในการ จากข้อมูลข้างต้นจึงได้ทำการศึกษาความเข้ากันได้ของสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ร่วมกับสารกำจัดเพลี้ยไฟในนาข้าว โดยทำการศึกษาความเข้ากันได้ของสารกำจัดวัชพืชผสมกับสารกำจัดแมลง ใช้วิธีการ Jar test ของ O’Connor-Marer (2000) ผสมสารทั้งสองในอัตราสูงสุดที่แนะนำแบบสารเดี่ยวโดยผสมสารตามกรรมวิธีลงในบีกเกอร์ (beaker) ปริมาตร 500 มิลลิลิตร ผสมไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 15 นาที พบว่า penoxulam + carbaryl และ penoxulam + thiacloprid เมื่อนำมาผสมกันแล้วจะเกิดเป็นตะกอนแขวนลอย และมีผลึกลอยอยู่บนผิวหนำของสารละลาย เมื่อผสมและตั้งทิ้งไว้ 15 นาที หลังจากทำการทดสอบความเข้ากันได้ของสารคู่ผสมระหว่างสารกำจัดวัชพืชและสารกำจัดเพลี้ยไฟ ในห้องปฏิบัติการแล้ว ได้ดำเนินการทดสอบระสิทธิภาพของสารคู่ผสมในการควบคุมวัชพืช ได้แก่ หญ้าข้าวนก และทดสอบความเป็นพิษต่อพืชปลูก พบว่าสารกำจัดวัชพืช propanil + fipronil มีอาการเป็นพืชต่อข้าว ทำให้เกิดอาการใบไหม้ คะแนนจากการประเมินความเป็นพิษอยู่ที่ 7 คะแนน คือ มีความเป็นพิษในระดับรุนแรง (severely toxic) ส่วนสารคู่ผสมอื่นๆ มีประสิทธิภาพในการกำจัดหญ้าข้าวนกได้ในระดับดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถิติ พร้อมทั้งดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยไฟในนาข้าวของสารคู่ผสมดังกล่าวพร้อมทั้งดำเนินการทดสอบในสภาพแปลงเพื่อศึกษาประสิทธิภาพสารในการกำจัดเพลี้ยไฟในข้าวนาหว่านน้ำตม