03-15-2017, 04:18 PM
การศึกษาปริมาณออคราทอกซิน เอในแหล่งปลูกโกโก้ต่างๆ
ทิพยา ไกรทอง, ปิยนุช นาคะ, ปานหทัย นพชินวงศ์, เสรี อยู่สถิตย์ และลิลลี่ พรานุสร
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, สถาบันวิจัยพืชสวน และสำนักวิจัยพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
ทิพยา ไกรทอง, ปิยนุช นาคะ, ปานหทัย นพชินวงศ์, เสรี อยู่สถิตย์ และลิลลี่ พรานุสร
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, สถาบันวิจัยพืชสวน และสำนักวิจัยพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
การศึกษาปริมาณออคราทอกซิน เอ ในแหล่งปลูกโกโก้ต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณสารพิษจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในเมล็ดโกโก้ และมาตรการในการลดการปนเปื้อนของเชื้อรา โดยการสำรวจเก็บตัวอย่างเมล็ดโกโก้แห้งจากแปลงเกษตรกร จุดรับซื้อ ในพื้นที่ จ.ชุมพร นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ จันทบุรี และงานวิจัยของศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรตั้งแต่ปี 2555-2557 รวมทั้งหมด 51 ตัวอย่างมาหาความชื้นของเมล็ดโกโก้เฉลี่ย 8.6% ซึ่งมาตรฐานความชื้นของเมล็ดโกโก้อยู่ระหว่าง 7% และวิเคราะห์ชนิดของเชื้อราด้วยวิธี Direct plate พบเชื้อรา A. ochraceus ที่ก่อให้เกิดการสร้างสารพิษ Ochratoxin A เฉลี่ย 1.22% มีค่าปริมาณสารพิษ 1.33 µg/kg และในปี 2556 พบปริมาณสารพิษจากเชื้อรา 0.88 µg/kg ซึ่งไม่เกินมาตรฐานกำหนด (มาตรฐาน 5 µg/kg ) นอกจากนั้นพบเชื้อรา A. flavus ที่สร้างสารพิษ Aflatoxin เกือบทุกตัวอย่างเฉลี่ย 20.17% และ Pennicillium 12.93% ที่เหลือเป็นเชื้อรา Aspergillus sp. และ Mycelium สาเหตุเกิดจากขั้นตอนการแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษา นอกจากนั้นปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเช่น ความชื้น อุณหภูมิ เป็นตัวการสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อราและสารพิษจากเชื้อรา การปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นมาตรการลดการปนเปื้อนของเชื้อราได้เป็นอย่างดี ย่อมส่งผลต่อคุณภาพของเมล็ดโกโก้เช่นกัน