วิจัยและพฒนาเครื่องจักรกลสําหรับการอบแห้งมันเส้น
#1
วิจัยและพฒนาเครื่องจักรกลสําหรับการอบแห้งมันเส้น
นิทัศน์ ตั้งพินิจกุล, พินิจ จิรัคคกล, เวียง อากรชี, อนุชิต ฉ่ำสิงห์, วิชัย โอภานกุล, มงคล ตุ่นเฮ้า, อนุชา เชาวโชติ, สิทธิชัย ดาศรี, ธนกฤต โยธาทูล และอุทัย ธานี 

          โครงการวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 โครงการ คือ 1) การวิจัยและพัฒนาเครื่องสับหัวมันสําปะหลังให้เป็นแบบเต๋า และ 2)วิจัยและพัฒนาเครื่องอบแห้งมันเส้นแบบโรตารี่ขนาดระดับชุมชน

          1) การวิจัยและพัฒนาเครื่องสับหัวมันสําปะหลังให้เป็นแบบเต๋า เพื่อพัฒนาต่อยอดการผลิตมันเส้นสะอาด จากกระบวนการอบแห้ง เนื่องจากการอบแห้งมันเส้นประสบปัญหาของเรื่องขนาดชิ้นมันที่นําไปอบแห้งไม่มีความ สม่ำเสมอ ส่งผลต่อการอบแห้ง เช่น เวลาที่ใช้การเกิดเจลในชิ้นมันที่มีความหนามากๆ อุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้ง ซึ่งจากการวิจัยและพัฒนาเครื่องสับมันสําปะหลังให้เป็นแบบเต๋าพบว่า สามารถสับหัวมันสําปะหลังให้มีลักษณะ สมมาตรได้ที่หน้าตัดชิ้นมันขนาด 1x1 ซม. และความยาว 2 - 5 ซม. ในสมรรถนะ 1.94 ตันต่อชั่วโมง โดยใช้ต้นกําลังมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 22 กิโลวัตต์ (30 แรงม้า) มีประสิทธิภาพในการสับได้ขนาดชิ้นมันที่เหมาะสม 81.75 % (หลังการอบแห้ง) และสามารถนําไปใช้กับกลุ่มเกษตรกรครอบคลุมพื้นที่ 907 ไร่ต่อปี

          2) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องอบแห้งแบบโรตารีสําหรับอบลดความชื้นมันเส้น ที่ออกแบบมีขนาดความจุ 7,000 กิโลกรัม ตัวเครื่องอบประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ 1) ถังอบแห้งที่มีการวางท่อลมกระจายความร้อนการอบแห้งดี ขับเคลื่อนการหมุนถังอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ 2) พัดลมแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ต้นกําลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า 3.5 กิโลวัตต์ 3) แหล่งความร้อนจากแก๊สหุงต้ม ผลการทดสอบอบแห้งมันเส้นสด 7,000 กิโลกรัม ที่อุณหภูมิลมร้อน 70 องศาเซลเซียส ใช้เวลาอบแห้ง 12 ชั่วโมง ที่ความชื้นมันเส้นเริ่มต้น 62% ลดลงเหลือ 13% อัตราการใช้แก๊ส 5 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ได้มันเส้นอบแห้ง 3,057 กิโลกรัม คิดเป็นสัดส่วนมันเส้นสดต่อมันเส้นอบแห้ง 2.29:1   


ไฟล์แนบ
.pdf   48_2558.pdf (ขนาด: 2.76 MB / ดาวน์โหลด: 6,224)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม