ชีววิทยาและการแพร่กระจายของวัชพืชสกุลผักแว่นและศักยภาพการเป็นวัชพืชของผักแว่นต่างถิ่น
#1
ชีววิทยา และการแพร่กระจายของวัชพืชสกุลผักแว่น (Marsilea L.) และศักยภาพการเป็นวัชพืชของผักแว่นต่างถิ่น
ศิริพร ซึงสนธิพร และธัญชนก จงรักไทย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          สำรวจ รวบรวมพืชสกุลผักแว่น (Marsilea L.) จากแหล่งน้ำ ลำธาร คลองชลประทาน นาข้าว นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว และที่ชุ่มชื้น จากภาคต่างๆ ในประเทศไทย จำนวน 110 ตัวอย่าง นำมาปลูกในเรือนทดลองของกลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จตุจักร กรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบการสร้างสปอโรคาร์ป พบเพียง 2 ชนิด ได้แก่ ผักแว่นหรือผักลิ้นปี (Marsilea crenata C.Presl) จำนวน 48 ตัวอย่าง ผักแว่นใบมัน (Marsilea scalaripes D.M. Johnson) 1 ตัวอย่าง จากธารน้ำไหลข้างทางหลวง ในจังหวัดนครพนม ที่เหลือ 61 ตัวอย่าง ไม่สร้างสปอโรคาร์ป ซึ่งคาดว่าเป็นผักแว่นใบมันที่มีแต่ใบไม่สร้างสปอโรคาร์ป ส่วนผักแว่นต่างถิ่นสองชนิด ที่มีการนำเข้ามาเป็นไม้ประดับ ได้แก่ ผักแว่นขน (M. drumondii A.Braun) และผักแว่นวง (M. mutica Mett.) จากตัวอย่างผักแว่นที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ยังไม่พบแพร่ระบาดในแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือพื้นที่ทั่วไป และไม่พบผักแว่นชนิด M. quadrifolia L. เลย เมื่อนำพืชทั้งสี่ชนิดมาปลูกในกระถางขนาด 35 x 45 x 15 เซนติเมตร ปรากฏว่าผักแว่นหรือผักลิ้นปี่มีการเจริญเติบโต ความยาวต้น จำนวนใบ พื้นที่ใบ น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง ปรากฏว่าผักแว่นมีจำนวนใบสูงสุด แต่พื้นที่ใบและน้ำหนักสด-แห้ง ต่ำกว่าผักแว่นขน ซึ่งมีลำต้นค่อนข้างแข็ง ก้านใบยาวผักแว่นใบมันมีการเจริญต่ำสุดในทุกดัชนี ผักแว่นวงมีลักษณะการเจริญใกล้เคียงกับผักแว่นใบมัน แต่มีการเจริญเติบโตดีกว่า เมื่อปลูกผักแว่นใบมันกับผักแว่นวงในสัดส่วนต่างๆ ให้ได้จำนวนรวมเท่ากับ 5 ต้น ปรากฏว่าผักแว่นใบมันสามารถเจริญเติบโตได้ดีในระยะ 1.5 เดือนหลังเริ่มต้น หลังจากนั้นผักแว่นวงมีแนวโน้มการเจริญดีกว่า และการประเมินศักยภาพการเป็นวัชพืชของผักแว่นต่างถิ่น 2 ชนิด ผักแว่นขนมีความเสี่ยงการเป็นวัชพืชสูงกว่าผักแว่นวง สอดคลองกับผลการศึกษาทางชีววิทยำ


ไฟล์แนบ
.pdf   266_2556.pdf (ขนาด: 2.34 MB / ดาวน์โหลด: 1,020)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม