10-12-2016, 09:21 AM
เทคนิคการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown plant hopper); Nilaparvata lugens Stal ในนาข้าว
พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, สุภางคนา ถิรวุธ, สุชาดา สุพรศิลป์, นลินา พรมเกษา, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, สุภางคนา ถิรวุธ, สุชาดา สุพรศิลป์, นลินา พรมเกษา, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างวิธีการพ่นสารแบบต่างๆ ในนาข้าวทั้งสามแบบ ได้แก่ แบบแรกพ่นแบบเกษตรกรในพื้นที่ แบบที่สองพ่นตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งทั้งสองแบบใช้เครื่องพ่นสารสองชนิด ได้แก่ พ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำสูง ประกอบก้านฉีดแบบปรับมุมพ่นด้านท้ายที่ติดตั้งหัวฉีดกรวยกลวง และพ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม เปรียบเทียบกับแบบที่สามที่พ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำสูง ประกอบคานหัวฉีดติดตั้งหัวฉีดแบบกรวยกลวงรุ่น 1299-08 Lilac และแบบพัด รุ่น XR 11001VS การเปรียบเทียบประสิทธิภาพใช้การพ่นสารละลายของสี kingkol tartrazine 1% ในการวัดความหนาแน่นและการตกค้างของละอองสารบนต้นข้าว ในข้าว 2 ระยะการเจริญเติบโตคือ ข้าวอายุ 30 และ 60 วันหลังหว่าน ผลการทดลองพบว่า การพ่นแบบที่สามด้วยคานหัวฉีดติดตั้งหัวฉีดที่เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตของข้าว (ข้าวอายุ 30 วันหลังหว่านใช้หัวฉีดแบบกรวยกลวง และข้าวอายุ 60 วันหลังหว่านใช้หัวฉีดแบบพัด) เป็นวิธีการพ่นที่ให้ความหนาแน่นและการตกค้างของละอองสารบนต้นข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นเป้าหมายคือบริเวณส่วนล่างหรือโคนของต้นข้าวสูงกว่าวิธีการพ่นอื่นๆ