คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
เทคนิคการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2556 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=6)
+--- เรื่อง: เทคนิคการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว (/showthread.php?tid=1868)



เทคนิคการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว - doa - 10-12-2016

เทคนิคการพ่นสารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown plant hopper); Nilaparvata lugens Stal ในนาข้าว
พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, สิริกัญญา ขุนวิเศษ, สุภางคนา ถิรวุธ, สุชาดา สุพรศิลป์, นลินา พรมเกษา, สรรชัย เพชรธรรมรส และสิริวิภา พลตรี
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างวิธีการพ่นสารแบบต่างๆ ในนาข้าวทั้งสามแบบ ได้แก่ แบบแรกพ่นแบบเกษตรกรในพื้นที่ แบบที่สองพ่นตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งทั้งสองแบบใช้เครื่องพ่นสารสองชนิด ได้แก่ พ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำสูง ประกอบก้านฉีดแบบปรับมุมพ่นด้านท้ายที่ติดตั้งหัวฉีดกรวยกลวง และพ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม เปรียบเทียบกับแบบที่สามที่พ่นด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำสูง ประกอบคานหัวฉีดติดตั้งหัวฉีดแบบกรวยกลวงรุ่น 1299-08 Lilac และแบบพัด รุ่น XR 11001VS การเปรียบเทียบประสิทธิภาพใช้การพ่นสารละลายของสี kingkol tartrazine 1% ในการวัดความหนาแน่นและการตกค้างของละอองสารบนต้นข้าว ในข้าว 2 ระยะการเจริญเติบโตคือ ข้าวอายุ 30 และ 60 วันหลังหว่าน ผลการทดลองพบว่า การพ่นแบบที่สามด้วยคานหัวฉีดติดตั้งหัวฉีดที่เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตของข้าว (ข้าวอายุ 30 วันหลังหว่านใช้หัวฉีดแบบกรวยกลวง และข้าวอายุ 60 วันหลังหว่านใช้หัวฉีดแบบพัด) เป็นวิธีการพ่นที่ให้ความหนาแน่นและการตกค้างของละอองสารบนต้นข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นเป้าหมายคือบริเวณส่วนล่างหรือโคนของต้นข้าวสูงกว่าวิธีการพ่นอื่นๆ