ศึกษากลไกความต้านทานของพริกต่อโรคลำต้นไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora capsici
#1
ศึกษากลไกความต้านทานของพริกต่อโรคลำต้นไหม้ที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora capsici
ศรีสุข พูนผลกุล และศิริพงษ์ คุ้มภัย
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เชื้อรา Phytophthora capcisi สาเหตุโรคลำต้นไหม้ของพริกทำความเสียหายต่อการปลูกพริกทั่วโลก การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการจำแนกสายพันธุ์ (pathotypes) เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพิจารณาคัดเลือกพันธุ์ต้านทานที่มีประสิทธิภาพเชื้อรา 6 ไอโซเลท เป็นตัวแทนเชื้อราที่แยกเชื้อบริสุทธิ์ได้จาก 5 จังหวัด ราดเชื้อราอัตรา 50,000 สปอร์/มิลลิลิตร ปริมาตร 5 มิลลิลิตรต่อต้น บนพริกทดสอบ 11 สายพันธุ์ ได้แก่ PI 2301232, CM 331, CNPH 703, PI 2301238, PI 2301234, CM 334, PI 189550, Early calwonder, PBC 602, PBC 137 และพริกพันธุ์จินดา เมื่อมีอายุ 6 สัปดาห์ ตรวจสอบการเป็นโรคลำต้นไหม้หลังการปลูกเชื้อ 21 วัน ผลการทดสอบพบว่า เชื้อรา Phytophthora capcisi สาเหตุโรคลำต้นไหม้ของพริกที่พบในประเทศไทยจัดไว้ได้ 3 pathotypes โดยพบเชื้อราที่ได้จากจังหวัดเชียงใหม่เป็นสายพันธุ์รุนแรงที่สุด (pathotype 3) เชื้อราจากจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นสายพันธุ์รุนแรงปานกลาง (pathotype 2) และเชื้อราจากจังหวัดเชียงรายและสกลนคร มีความรุนแรงต่ำกว่า (pathotype 1)

          การศึกษาการถ่ายทอดลักษณะความต้านทานโรคได้ดำเนินการผสมพันธุ์พริก โดยใช้พันธุ์แม่ 7 พันธุ์ได้แก่ พันธุ์พิจิตร 1 (พันธุ์อ่อนแอ) พิจิตร 05 พิจิตร 06 พิจิตร 15-1-1-1 พิจิตร 18–1–1–1 พิจิตร 27-1-2-1 และ PBC 743 ผสมกับพันธุ์พ่อ PI 2301234 ได้ลูกผสมชั่วที่ 1 จำนวน 67 สายพันธุ์ ปลูกพริกลูกผสมชั่วที่ 1 เพื่อเก็บผลผลิตลูกผสมชั่วที่ 2 สำหรับการปลูกเชื้อทดสอบต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1292_2552.pdf (ขนาด: 157.77 KB / ดาวน์โหลด: 474)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม