การทดสอบพันธุ์พริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์จินดา
#1
การทดสอบพันธุ์พริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์จินดา
จันทนา โชคพาชื่น, ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, ศุภลักษณ์ อริยภูชัย, อำไพ ประเสริฐสุข, พีชณิตดา ธารานุกูล และรักชัย คุรุบรรเจิดจิต
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ, ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง และศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย

          ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์พริกจินดา เพื่อให้เกษตกรและผู้สนใจปลูกได้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดี ราคาถูกและสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในฤดูถัดไปได้ โดยเริ่มต้ังแต่ปี 2544 รวบรวมพันธุ์พริกขี้หนูพันธุ์จินดา 55 สายพันธุ์และทำการปลูกคัดเลือกด้วยวิธีคัดสายพันธุ์บริสุทธิ์ (pureline selection) จนกระท้ังปี 2551 คัดเลือกพริกจินดาสายพันธุ์ดี จำนวน 12 สายพันธุ์ และในปี 2552 - 2553 ได้ทดสอบพันธุ์พริกจินดาจำนวน 13 สายพันธุ์ ใน 3 แหล่งปลูกคือ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี ได้พันธุ์ที่มีผลผลิตสูง คุณภาพผลผลิตตรงตามเกณฑ์การคัดเลือก คือ ผลแก่สีเขียวเข้ม ผลสุกสีแดงสด ผิวมันผลยาว 5 - 7 เซนติเมตร ผลกว้าง 0.8 - 1.0 เซนติเมตร และก้านผลยาวมากกว่า 3 เซนติเมตร จำนวน 4 สายพันธุ์ คือ พจ.054 ศก.24 พจ.045 และ ศก.20 ปี 2556-2557 ทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกรผู้ปลูกพริก 5 แห่งๆ ละ 1 ราย คือ จังหวัดศรีสะเกษ สุโขทยั ตรัง กาญจนบุรี และนครราชสีมา วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี คือ พจ.054 ศก.24 พจ.045 ศก. 20 เปรียบเทียบกับพันธุ์เกษตรกร (พันธุ์พื้นเมือง) และพันธุ์การค้า (ซุปเปอร์ฮอต) ขนาดแปลงย่อย 4 x 6 เมตร ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวปลูก คือ 0.5 x 1.0 เมตร ปลูกทดสอบ 2 ฤดูกาลคือ ฤดูแล้งและฤดูฝน ผลการทดลอง พบว่า

          การปลูกในฤดูแล้งพันธุ์ ศก.24 สามารถปรับตัวและให้ผลผลิตสดต่อไร่สูงกว่าพันธุ์การค้าร้อยละ 33.9 ในพื้นที่ปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง กล่าวคือให้ผลผลิตสดต่อไร่ในจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดกาญจนบุรี คือ 1,352.4 กิโลกรัม และ 6442.1 กิโลกรัม ตามลำดับ และพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา ไม่สามารถปลูกพริกในฤดูแล้งได้ สำหรับพื้นที่ปลูกภาคเหนือพันธุ์ พจ.054 ให้ผลผลิตสดสูงกว่าพันธุ์การค้าร้อยละ 22.7 โดยผลผลิตสดต่อไร่จังหวัดสุโขทัยคือ 1,873.6 กิโลกรัม ส่วนภาคใต้จังหวัดตรัง พบว่า พันธุ์เกษตรกรให้ผลผลิตสดต่อไร่ 2,232.1กิโลกรัม สูงกว่าพันธุ์การค้าร้อยละ 29.6

          การปลูกในฤดูฝน ผลผลิตพริกทุกพันธุ์ที่ทดสอบลดลงมากกว่าร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบกับฤดูแล้ง อย่างไรก็ดี พันธุ์ ศก.24 และ พจ.054 ยังให้ผลผลิตสดต่อไร่สูงกว่าพันธุ์การค้าที่ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในทุกจังหวัดที่ทดสอบเฉลี่ยร้อยละ 59.0 และ 76.1 ตามลำดับ ส่วนภาคกลางจังหวัดกาญจนบุรีพบว่า พันธุ์ ศก.24 ให้ผลผลิตสดต่อไร่สูงที่สุด คือ 744.0 กิโลกรัม สูงกว่าพันธุ์เกษตรกรและพันธุ์การค้าร้อยละ 44.1 และ 12.0 ตามลำดับ แต่พื้นที่ภาคใต้ไม่สามารถปลูกพริกทดสอบได้

          ความต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสที่มีสาเหตุจากเชื้อ Colletotrichum spp. ในสภาพแปลงปลูกจังหวัดศรีสะเกษและกาญจนบุรีพบว่า พริกจินดาพันธุ์ ศก.24 และพจ.054 มีความทนทานโรคระดับเดียวกับพันธุ์การค้า คือ ร้อยละ 23 นอกจากนี้ด้านความพึงพอใจต่อขนาดผล สีผล และการเก็บเกี่ยวผลพริกท้ัง 2 สายพันธุ์ พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมาก


ไฟล์แนบ
.pdf   8_2558.pdf (ขนาด: 690.74 KB / ดาวน์โหลด: 4,033)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม