การตรวจสอบความใช้ได้วิธีวิเคราะห์สารพิษกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและกลุ่มไพรีทรอยด์ในผลไม้
#1
การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทรอยด์ ในผลไม้โดยวิธี QuEChERS ด้วย Gas Chromatography/Mass Spectrometry (GC/MS)
ลักษมี เดชานุรักษ์นุกูล, ศศิมา มั่งนิมิตร์ และวิทยา บัวศรี

          การทดสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ (method validation) เพื่อให้ได้วิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างที่มีความถูกต้องแม่นยำ เหมาะสม รวดเร็ว ทันต่อความต้องการ เสียค่าใช้จ่ายน้อย โดยใช้วิธีวิเคราะห์ QuEChERS (Quick, Easy, Cheap, Effective, Rugged and Safe) (Lehotay, et al., 2007) ทำการสกัดตัวอย่างโดยการเขย่าด้วย acetonitrile (MeCN) contianing 1% acetic acid (HAc), anhydrous MgSO4 และ sodium acetate (NaAC) แล้วนำไป centrifuge โดยใช้ primary secondary amine (PSA) และ MgSO4 ในการขจัดสิ่งปนเปื้อน (clean up) นำวิธีมาพิสูจน์ความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ ด้วยเทคนิค fortified sample วัตถุมีพิษจำนวน 33 ชนิด ในตัวอย่างสาลี่และแตงโม และตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ด้วยเครื่อง Gas Chromatography/Mass Spectrometric Detection (GC/MS) ตาม parameter ที่ทดสอบ ทำการทดลองในตัวอย่างสาลี่ที่ระดับความเข้มข้นของวัตถุมีพิษ 3 ระดับ คือ 0.04 0.08 และ 2.0 mg/kg ระดับความเข้มข้นละ 10 ซ้ำ จากผลการทดสอบการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและกลุ่มไพรีทรอยด์จำนวน 33 ชนิดในตัวอย่าง สาลี่และแตงโมโดยวิธี QuEChERS ด้วย Gas Chromatography/Mass Spectrometry (GC/MS) พบว่าวัตถุมีพิษจำนวน 25 ชนิด มีความเหมาะสมในการทดสอบโดยสามารถตรวจวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และมีความเที่ยงของวิธีวิเคราะห์ (Precision) อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ในช่วงความเข้มข้นระหว่าง 0.04-0.2 mg/kg มีค่า LOD เท่ากับ 0.04 mg/kg และ LOQ เท่ากับ 0.04-0.2 mg/kg มีเพียงวัตถุมีพิษจำนวน 8 ชนิดที่ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ มีค่า LOQ>0.2 mg/kg วิธีวิเคราะห์นี้สามารถตรวจสารพิษในผลไม้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างที่ทำเป็นงานประจำและต้องการผลการวิเคราะห์ที่รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ


ไฟล์แนบ
.pdf   904_2551.pdf (ขนาด: 1.75 MB / ดาวน์โหลด: 931)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม