06-10-2016, 02:56 PM
ศึกษาการเกิด Somatic embryo และการชักนำให้เกิดยอดอ่อน
ชยานิจ ดิษฐบรรจง, กษิดิศ ดิษฐบรรจง, อรรัตน์ วงศ์ศรี และอรุณี ใจเถิง
กรมวิชาการเกษตร
ชยานิจ ดิษฐบรรจง, กษิดิศ ดิษฐบรรจง, อรรัตน์ วงศ์ศรี และอรุณี ใจเถิง
กรมวิชาการเกษตร
เมื่อนำแคลลัสที่เกิดจากคัพภะอ่อน ช่อดอกอ่อน และใบอ่อน (leaf primordia) มาศึกษาการเกิด embryogenesis สามารถชักนำให้เกิด embryogenic callus ได้ดี เมื่อเลี้ยงบนอาหาร Y3+NAA 10 μM+ abscisic acid 2 μM นาน 4 เดือน เท่ากับ 50.10, 20.04 และ 46.76% ตามลำดับ โดยแคลลัสมีการขยายขนาดขึ้นเป็นเนื้อเยื่อก้อนแข็งสีขาว ต่อมาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิวของแคลลัสบางส่วน มีกลุ่มเนื้อเยื่อสีขาวทึบลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เจริญออกมาและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเลี้ยงต่อไปอีก 3 เดือน embryogenic callus จะมีพัฒนาการเป็น somatic embryo (ในระยะต่างๆ ได้แก่ nodular shape heart หรือ torpedo shape ระยะ globular ซึ่งมีลักษณะก้อนกลมขนาดใหญ่กว่า nodular และระยะ haustorium ซึ่งมีลักษณะเรียวแหลมปลาย) คิดเป็น 40.08 13.36 และ 33.34% ตามลำดับ จากนั้น somatic embryo มีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันหลายลักษณะคือเจริญเป็น polyembryony 2-3 ต้นอยู่รวมเป็นกระจุก มียอดและรากที่สมบูรณ์ เจริญเป็นยอดขนาดเล็ก 4 - 5 ยอด ติดกันเป็นกลุ่ม แต่ไม่มีราก และเจริญเป็นรากขนาดใหญ่ แต่ไม่มี