คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาการเกิด Somatic embryo และการชักนำให้เกิดยอดอ่อน - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2551 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=26)
+--- เรื่อง: ศึกษาการเกิด Somatic embryo และการชักนำให้เกิดยอดอ่อน (/showthread.php?tid=1292)



ศึกษาการเกิด Somatic embryo และการชักนำให้เกิดยอดอ่อน - doa - 06-10-2016

ศึกษาการเกิด Somatic embryo และการชักนำให้เกิดยอดอ่อน
ชยานิจ ดิษฐบรรจง, กษิดิศ ดิษฐบรรจง, อรรัตน์ วงศ์ศรี และอรุณี ใจเถิง
กรมวิชาการเกษตร

          เมื่อนำแคลลัสที่เกิดจากคัพภะอ่อน ช่อดอกอ่อน และใบอ่อน (leaf primordia) มาศึกษาการเกิด embryogenesis สามารถชักนำให้เกิด embryogenic callus ได้ดี เมื่อเลี้ยงบนอาหาร Y3+NAA 10 μM+ abscisic acid 2 μM นาน 4 เดือน เท่ากับ 50.10, 20.04 และ 46.76% ตามลำดับ โดยแคลลัสมีการขยายขนาดขึ้นเป็นเนื้อเยื่อก้อนแข็งสีขาว ต่อมาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิวของแคลลัสบางส่วน มีกลุ่มเนื้อเยื่อสีขาวทึบลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เจริญออกมาและเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเลี้ยงต่อไปอีก 3 เดือน embryogenic callus จะมีพัฒนาการเป็น somatic embryo (ในระยะต่างๆ ได้แก่ nodular shape heart หรือ torpedo shape ระยะ globular ซึ่งมีลักษณะก้อนกลมขนาดใหญ่กว่า nodular และระยะ haustorium ซึ่งมีลักษณะเรียวแหลมปลาย) คิดเป็น 40.08 13.36 และ 33.34% ตามลำดับ จากนั้น somatic embryo มีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันหลายลักษณะคือเจริญเป็น polyembryony 2-3 ต้นอยู่รวมเป็นกระจุก มียอดและรากที่สมบูรณ์ เจริญเป็นยอดขนาดเล็ก 4 - 5 ยอด ติดกันเป็นกลุ่ม แต่ไม่มีราก และเจริญเป็นรากขนาดใหญ่ แต่ไม่มี