การพัฒนาระบบการผลิตแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่การผลิตของเกษตรกร
#1
การพัฒนาระบบการผลิตแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่การผลิตของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคอาเซียน
โสภิตา สมคิด, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, มัตติกา ทองรส, กาญจนา คุ้มทรัพย์, เดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ และกัณฑ์พร กรรณสูต

        โครงการเริ่มดำเนินงานปลายปี 2559 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังในระบบการผลิตแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตโดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการรับรองและกลุ่มเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีปฏิบัติและโครงสร้างต้นทุนกิจกรรมในระบบห่วงโซ่อุปทานและระบบโลจีสติกส์ของแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์โดยเปรียบเทียบระหว่างการส่งออกแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์ไปยังตลาดยุโรปกับตลาดสหรัฐอเมริกา 3) เพื่อพัฒนาและยกระดับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์เข้าสู่การรับรองมาตรฐานการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ในระบบ USDA NOP หรือ EU Organic การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนเกษตรกรพบว่าต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของเกษตรกรในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ มีต้นทุน 11,935 บาทต่อไร่ ต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังทั่วไป 8,410 บาทต่อไร่ แม้ราคาต้นทุนมันสำปะหลังอินทรีย์จะสูงกว่าแต่ผลผลิตจากแปลงอินทรีย์จะได้รับการยอมรับในมาตรฐานทาให้เกิดความเชื่อมั่นจึงส่งผลต่อราคารับซื้อที่สูงกว่า

        ด้านต้นทุนการผลิตแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตแป้งมันสำปะหลังทั่วไป 8.60 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิตแป้งมันทั่วไป ราคา 13.76 บาทต่อกิโลกรัม ราคาขาย 14.91 บาทต่อกิโลกรัม กำไร 1.15 บาทต่อกิโลกรัม แต่แป้งมันสำปะหลังอินทรีย์ 22.36 บาทต่อกิโลกรัม ราคาขาย 22.31 บาทต่อกิโลกรัม ขาดทุน 0.05 บาทต่อกิโลกรัม จากข้อมูลต้นทุนการผลิตแป้งมันสำปะหลังอินทรีย์ส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการรับรองมาตรฐานในระบบการผลิตตามมาตรฐาน USDA NOP มีต้นทุน 3.20 บาทต่อกิโลกรัม

      พัฒนาและยกระดับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์เข้าสู่การรับรองมาตรฐานการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ในระบบ USDA NOP หรือ EU Organic เกษตรกรที่สามารถดำเนินการผลิตตามเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรกรและคู่มือการปฏิบัติงานการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์จะสามารถผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย 4.5 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (3.5 ตันต่อไร่)


ไฟล์แนบ
.pdf   75_2561.pdf (ขนาด: 569.53 KB / ดาวน์โหลด: 1,561)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม