09-13-2018, 03:23 PM
ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, สันติ โยธาราษฎร์, มณเทียน แสนดะหมื่น, ณฐนน ฟูแสง, สุริยนต์ ดีดเหล็ก, นงพงา โอลเสน, นฤนาท ชัยรังษี, สิริพร มะเจี่ยว, เนาวรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล, กิ่งกาญจน์ เกียรติอนันต์, เกียรติรวี พันธ์ไชยศรี และว่าที่ร้อยตรีหญิงกัญญารัตน์ สุวรรณ
พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, สันติ โยธาราษฎร์, มณเทียน แสนดะหมื่น, ณฐนน ฟูแสง, สุริยนต์ ดีดเหล็ก, นงพงา โอลเสน, นฤนาท ชัยรังษี, สิริพร มะเจี่ยว, เนาวรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล, กิ่งกาญจน์ เกียรติอนันต์, เกียรติรวี พันธ์ไชยศรี และว่าที่ร้อยตรีหญิงกัญญารัตน์ สุวรรณ
โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ ทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงหอมแดงให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในจังหวัดลำพูน และการทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกะหล่ำปลีที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการระหว่างปี 2559 – 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชผักที่เหมาะสมกับพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง
ในการทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดโรคและแมลงหอมแดงให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในจังหวัดลำพูน เกษตรกรปลูกหอมแดง 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม อายุเก็บเกี่ยว 75 - 90 วัน (หอมแดงฤดูแล้ง) พบการระบาดโรคใบแห้งรุนแรง ระดับ 6 โดยกรรมวิธีทดสอบอยู่ระหว่าง 20.12 - 94.42 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่ากรรมวิธีเกษตรกรอยู่ที่ 21.42 - 94.89 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่มีความแตกต่างทางด้านสถิติ กรรมวิธีเกษตรกรมีการใช้สารเคมี 19 ชนิด เป็นสารป้องกันกำจัดโรคพืช 8 ชนิด สารกำจัดแมลง 11 ชนิด ไม่พบสารพิษตกค้างในแปลงหอมแดงทั้ง 10 ราย ต้นทุนสารเคมีกรรมวิธีทดสอบอยู่ที่ 3,850 บาทต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกร ที่ 2,129 - 8,857 บาทต่อไร่ ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสถิติ ผลผลิตกรรมวิธีทดสอบที่ 0 - 3,800 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งไม่แตกต่างทางด้านสถิติจากกรรมวิธีเกษตรกรที่ 0 - 3,570 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบมีรายได้สุทธิที่ (-4,325) – 17,344 บาทต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรที่ (-8,382) 14,628 บาทต่อไร่ และกรรมวิธีทดสอบมีค่า BCR อยู่ที่ 0.70 1.86 ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรมีค่า BCR อยู่ระหว่าง 0.76 1.70 ช่วงที่ 2 เดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน (หอมแดงฤดูฝน) พบการระบาดโรคใบแห้ง ระดับ 4 มากที่สุด โดยกรรมวิธีทดสอบอยู่ระหว่าง 7.64 - 11.76 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีเกษตรกรอยู่ที่ 5.93 - 10.95 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีความแตกต่างทางด้านสถิติ กรรมวิธีเกษตรกรมีการใช้สารเคมี 15 ชนิดประกอบด้วย สารกำจัดโรคพืช 5 ชนิด สารกำจัดแมลง 10 ชนิด ไม่พบสารพิษตกค้างในแปลงหอมแดงทั้ง 10 ราย ต้นทุนสารเคมีกรรมวิธีทดสอบอยู่ที่ 1,428 บาทต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกร ที่ 1,150 - 2,640 บาทต่อไร่ ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสถิติ ผลผลิตกรรมวิธีทดสอบ ที่ 1,926 - 2,400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งแตกต่างทางด้านสถิติจากกรรมวิธีเกษตรกรที่ 1,934 2,450 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมวิธีทดสอบมีรายได้สุทธิที่ 6,598 – 11,992 บาทต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรที่ (-6,635) 10,130 บาทต่อไร่ และกรรมวิธีทดสอบมีค่า BCR อยู่ระหว่าง 0.73 1.60 ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรมีค่า BCR อยู่ระหว่าง 0.74 1.48
การทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกะหล่ำปลีที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยทดสอบเทคโนโลยีในแปลงเกษตรกรจำนวน 10 ราย พบว่าวิธีการทดสอบมีผลจำนวนครั้งการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกะหล่ำปลีเฉลี่ย 2.2 ครั้ง/ฤดูปลูก ส่วนวิธีการเกษตรกรมีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัด 4 ครั้งต่อฤดูปลูก ซึ่งพบว่ากรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 5,460 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีเกษตรกรให้ผลผลิตเฉลี่ย 5,500 กิโลกรัมต่อไร่ โดยทั้งสองกรรมวิธีตรวจไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิต วิธีการของเกษตรกรสามารถให้รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตเฉลี่ย 49,500 บาท สูงกว่าวิธีการทดสอบมีรายได้เฉลี่ย 49,140 บาท โดยวิธีการของเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 9,913 บาทต่อไร่ ขณะที่วิธีการทดสอบมีต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 7,880 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) พบว่าวิธีการทดสอบมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่า 6.35 วิธีการเกษตรกรมีอัตราผลตอบแทน 4.99