วิจัยและพัฒนามังคุด
#1
วิจัยและพัฒนามังคุด
ศิริพร วรกุลดำรงชัย

โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุดคุณภาพ
ชมภู จันที, ธีรวุฒิ ชุตินันทกุล, มาลัยพร เชื้อบัณฑิต, สำเริง ช่างประเสริฐ, วีรญา เต็มปีติกุล, ศิริพร วรกุลดำรงชัย, ศุภลักษณ์ อริยภูชัย, พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์, อำพร คงอิสโร, อนุสรณ์ สุวรรณเวียง, อรวินทินี ชูศรี, อภิรดี กอร์ปไพบูลย์, สมบัติ ตงเต๊า, นาวี จิระชีวี, คุรุวรรณ์ ภามาตย์, นิวัติ อาระวิล, เทียนชัย เหล่าลำ, อุทัย ธานี, สากล วีริยานันท์, ธนาวัฒน์ ทิพย์ชิต, รัชนี ภัทรวาโย, นิลวรรณ ลีอังกูรเสถียร, อรุณี วัฒนวรรณ, ชญานุช ตรีพันธ์, สุมาลี ศรีแก้ว, บุญชนะ วงศ์ชนะ, ฐาปนีย์ ทองบุญ, วริยา ประจิมพันธุ์, กิรนันท์ เหมาะประมาณ, เกษศิริ ฉันทพิริยะพูน, อุมาพร รักษาพรหมณ์  และจิตติลักษณ์ เหมะ
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง, ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย, ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครศรีธรรมราช, สถาบันวิจัยพืชสวน, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 และสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม

          ปัจจุบันประเทศไทยไม่สามารถผลิตมังคุดคุณภาพได้เพียงพอกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมังคุดคุณภาพ โดยศึกษาวิธีการผลิตมังคุดนอกฤดู การกระจายการผลิต การอารักขาพืช พันธุกรรมมังคุด การออกแบบสวน ผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงต่อการผลิตมังคุด และเครื่องต้นแบบที่ใช้ลมทำให้ผลมังคุดสดแห้งในโรงคัดบรรจุสำหรับการส่งออกพบว่า การให้น้ำสม่ำเสมอ (ให้น้ำทุก 7 วัน ครั้งละ 200 ลิตร, การงดน้ำจนใบเหี่ยวจนถึงข้อที่ 2 (คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร) และการขังน้ำรอบโคนต้นจนมังคุดออกดอก สามารถชักนำให้มังคุดออกดอกได้ก่อนและมากกว่ากรรมวิธีอื่น การพ่นปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 200 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เพื่อกระตุ้นใบอ่อนหลังการเก็บเกี่ยว และพ่นปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ที่ใบระยะเพสลำด ทำให้มังคุดมีความพร้อมในการออกดอกและสามารถออกดอกและเก็บเกี่ยวผลได้เร็วกว่ากรรมวิธีอื่นจึงได้ปริมาณผลผลิตที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น การพ่นสารไซโตคินนิน ความเข้มข้น 100 ppm และธาตุอาหารเสริมที่ผลิตจากสาหร่าย ความเข้มข้น 100 ppm เมื่อผลอายุ 8 - 13 สัปดาห์หลังดอกบาน สามารถชะลอการเปลี่ยนสีของผลได้นาน 2 - 3 วัน การพ่นด้วยสารละลาย Ethephon ความเข้มข้น 200 ppm เมื่ออายุผลเข้าสัปดาห์ที่ 11 หลังดอกบาน ทำให้มังคุดสุกก่อนกรรมวิธีอื่นโดยเริ่มสุก 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนต้นทั้งหมด การพ่นสารเคมีอิมิดำคลอพิด อัตรา 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตรร่วมกับแคลเซียมโบรอน จำนวน 2 ครั้ง ในระยะออกดอกถึงดอกบานหลังจากนั้นพ่นสารเคมีป้องกันแมลงตามความจำเป็นโดยใช้ระดับเศรษฐกิจเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ ทำให้ปริมาณเพลี้ยไฟก่อนและหลังการทดลองลดลงแตกต่างจากกรรมวิธีอื่น และได้ผลผลิตคุณภาพเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพันธุกรรมของมังคุดพบต้นมังคุดที่มีลักษณะแตกต่างจากต้นปกติ เช่น การแตกกิ่ง ลักษณะใบและผล การตัดแต่งมังคุดทรงครึ่งวงกลมความสูงลำต้น 5 เมตร มีจำนวนผล/ต้นมากที่สุดเฉลี่ย 444 ผล มีปริมาณผลผลิต/ต้นมากที่สุดเฉลี่ย 42.60 กิโลกรัม มีปริมาณผลผลิต/ไร่ มากที่สุดเฉลี่ย 1,866 กิโลกรัม มีปริมาณผลผลิตที่มีคุณค่าทางการตลาด 74.59% ของผลผลิตทั้งหมด และมีน้ำหนักผลเฉลี่ย 97.89 กรัม มากกว่าการไม่ตัดแต่งทรงพุ่ม ต้นมังคุดที่เสียบยอดจากกิ่งข้าง (primary branch) มีแนวโน้มให้จำนวนดอก/ต้น จำนวนผล/ต้น ปริมาณผลผลิต/ต้น และปริมาณผลผลิต/ไร่ มากกว่าต้นมังคุดที่เสียบยอดจากกิ่งแขนง (secondary branch) การให้น้ำอัตรา 300 ลิตร/ชั่วโมง มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพดีกว่าการให้น้ำอัตรามากกว่า 600 ลิตร/ชั่วโมง และอัตรา 120 ลิตร/ชั่วโมง ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และความชื้นมีผลต่อการออกดอกของมังคุดโดยตรง อ.ชะอวด และ อ.ลานสกา ปริมาณน้ำฝนจะลดต่ำสองช่วง คือเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ และเดือนกรกฎาคม สิงหาคม ทำให้มังคุดออกดอก 2 ครั้ง ในแต่ละปี ส่วน อ.ฉวาง ปริมาณน้ำฝนจะต่ำสุดเฉพาะเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ มังคุดจะออกดอกในช่วงในฤดูเท่านั้น ส่วนปี 2558 ปริมาณน้ำฝนจะแปรปรวนไปจากเดิม คือ มีสภาพแล้งจัดช่วงต้นปีทั้งพื้นที่ แต่ช่วงกลางปีฝนตกตลอดถึงปลายปีทำให้มังคุด อ.ลานสกาไม่ออกดอกช่วงนอกฤดู ส่วน อ.ชะอวดจะทิ้งช่วงเดือนสิงหาคมทำให้ออกดอกนอกฤดู ส่วนในภาคตะวันออกพบว่าการออกดอกและการเก็บเกี่ยวของมังคุดในช่วง 5 ฤดูการผลิตที่ผ่านมา (ปี 2554 - 2558) โดยในปี 2554 - 2556 มังคุดมีแนวโน้มการออกดอกเร็วขึ้นทุกปี (ปี 2554 เริ่มออกดอกวันที่ 30 ธันวาคม 2553 - 20 มีนาคม 2554 ปี 2555 เริ่มออกดอกเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 - 10 มีนาคม 2555 ปี 2556 เริ่มออกดอกต้นเดือนพฤศจิกายน 2555 - 25 มกราคม 2556) ปี 2557 มังคุดออกดอกล่าช้ากว่าทุกปีโดยเริ่มออกดอกต้นเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2557 ปริมาณดอกรุ่นแรกมักจะมีประมาณน้อยเพียง 10 - 20 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตทั้งหมดเท่านั้น มีการกระจายตัวของผลผลิตมังคุดนานประมาณ 4 เดือน ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน เดือนกรกฎาคม ส่งผลให้การเตรียมความสมบูรณ์ต้นมังคุดให้พร้อมสำหรับการออกดอกในปีการผลิตต่อๆ ไปได้ไม่พร้อมกัน ซึ่งนอกจากจะทำให้การดูแลรักษายาก และต้องใช้ต้นทุนที่สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้การจัดการชักนำการออกดอกได้ยากขึ้นอีกด้วย เครื่องต้นแบบสำหรับเป่าแห้งมังคุดสดในโรงคัดบรรจุสำหรับการส่งออก สามารถลดระยะเวลาการเป่าแห้งมังคุดสดได้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเดิม คือ การใช้พัดลมเป่ามังคุดบนโต๊ะ ทำให้มีความสามารถในการเป่าแห้งมังคุดสดต่อวันได้มากกว่า โดยคุณภาพของมังคุดมีสภาพความสดไม่แตกต่างกันและลดการใช้พื้นที่สำหรับตั้งโต๊ะลดความชื้น

วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดอาการเนื้อแก้วยางไหลภายในผลมังคุด
มาลัยพร เชื้อบัณฑิต, ชมภู จันที, สำเริง ช่างประเสริฐ, อภิรดี กอร์ปไพบูลย์ และสมโภชน์ น้อยจินดา
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ พระนครเหนือ

          การหาความสัมพันธ์ของการเกิดเนื้อแก้วยางไหลกับการทำลายของเพลี้ยไฟ ดำเนินการในสวนมังคุดของเกษตรกร จำนวน 5 สวน ได้แก่ จังหวัดระยอง 2 สวน จังหวัดจันทบุรี 2 สวน และจังหวัดตราด 1 สวน โดยคัดเลือกมังคุดที่มีลักษณะการทำลายของเพลี้ยไฟแตกต่างกัน แบ่งเป็นผิวมัน ผิวลาย1 ผิวลาย 2 ผิวลาย 3 และผิวลาย 4 ในช่วงต้นฤดู กลางฤดู และปลายฤดู จากนั้นผ่าดูเนื้อแก้วยางไหล พบว่าลักษณะผิวของมังคุดมีความสัมพันธ์กับอาการเนื้อแก้วยางไหลภำยในผลมังคุด เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่ำวคือ มังคุดที่ถูกเพลี้ยไฟทำลายผิวเปลือกมาก (ลาย1 - 4) พบการเกิดอาการเนื้อแก้วยางไหลน้อยกว่ามังคุดที่ไม่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 3 จังหวัด แตกต่างกันบ้างตามสภาพพื้นที่ของแต่ละจังหวัด การศึกษาจัดการสารควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อลดอาการเนื้อแก้วยางไหลภำยในผลพบว่า การพ่นสาร GA3 50 ppm + Blassinosteroid 2 ppm มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการเนื้อแก้วน้อยที่สุดเฉลี่ย 19.80% และมีระดับความรุนแรงของอาการเนื้อแก้วน้อยที่สุดเฉลี่ย 1.25 คะแนน แต่ไม่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการพ่นน้ำเปล่า ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการเนื้อแก้วเฉลี่ย 26.00% และมีระดับความรุนแรงของอาการเนื้อแก้วเฉลี่ย 1.39 คะแนน ส่วนการเกิดอาการยางไหลพบว่า การพ่นสาร GA3 50 ppm มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการยางไหลน้อยที่สุดเฉลี่ย 14.80% รองลงมา คือ การพ่นสาร GA3 50 ppm + Blassinosteroid 2 ppm มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการยางไหลเฉลี่ย 16.20% ซึ่งทั้งสองกรรมวิธีนี้มีระดับความรุนแรงของอาการยางไหลน้อยที่สุดเฉลี่ย 1.23 คะแนน แต่ไม่แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการพ่นน้ำเปล่า มีเปอร์เซ็นต์การเกิดอาการยางไหลเฉลี่ย 27.00% และมีระดับความรุนแรงของอาการยางไหลเฉลี่ย 1.44 คะแนน และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสุกของผลมังคุดกับการเกิดอาการเนื้อแก้ว มังคุดที่มีอาการเนื้อแก้วเมื่อมีการสุกแก่เพิ่มมากขึ้น พบว่าเอนไซม์ฟีนิวอะลานีนแอมโมเนียไลเอส ในปริมาณใกล้เคียงกัน ส่วนมังคุดเนื้อปกติจะพบเอนไซม์ในปริมาณที่ลดลง ส่วนเอนไซม์เพอออกซิเดส และเอ็นไซม์ Cinnamy Alcohol Dehydrogenase ในมังคุดที่เป็นเนื้อแก้วจะมีปริมาณใกล้เคียงกันตลอดระยะการสุกของมังคุด ส่วนในมังคุดปกติจะพบว่าเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิดมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามระยะการสุกแก่


ไฟล์แนบ
.pdf   210_2558.pdf (ขนาด: 2.43 MB / ดาวน์โหลด: 3,617)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม