วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีศักยภาพ
#1
วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีศักยภาพ
สุภาภรณ์ สาชาติ และคณะ

          โครงการวิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีศักยภาพมีจุดมุ่งหมายที่จะทำการศึกษาพืชสมุนไพรในหลากหลายมิติ แบ่งได้เป็น 5 กิจกรรม ได้แก่ การสำรวจระบบการผลิตพืชสมุนไพรและเครื่องเทศเชิงการค้า การศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการผลิตยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริม การศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชสมุนไพรเครื่องเทศเพื่อการส่งออกและทดแทนการนำเข้า รวมถึงทดแทนการนำออกจากป่าหรือหายากใกล้สูญพันธุ์ และการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

          การสำรวจระบบการผลิตพืชสมุนไพรและเครื่องเทศเชิงการค้า ได้ทำการสำรวจแบ่งตามภาคต่างๆ ข้องประเทศไทย เป็น 5 ส่วน ได้แก่ ภาคกลางและภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร ผู้ผลิตยาสมุนไพร กลุ่มแปรรูปสมุนไพร ผู้รวบรวม รับซื้อผลผลิต ทำให้ทราบถึงชนิดข้องพืชสมุนไพรที่เกษตรกรนิยมปลูก ระบบการผลิต การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การจัดจำหน่าย ข้องแต่ละภูมิภาคในประเทศ

          การศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชสมุนไพรตามการใช้ประโยชน์ ได้แบ่งพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพ เป็น 3 ประเภท คือ เพื่อการผลิตยา ได้แก่ โกศจุฬาลำพา ดีปลี รางจืด และฟักข้าว เพื่อการผลิตเครื่องสำอาง ได้แก่ อัญชัน และเพื่อการผลิต่อาหารเสริมสุขภาพ ได้แก่ มะรุม พลูค้าว และกระเจี๊ยบแดง

          โกฐจุฬาลำพา คัดเลือกได้ 4 ฟีโนไทป์ ได้แก่ ฟีโนไทป์ 1 มีลักษณะทรงพุ่มบาง ใบประกอบมีข้อถี่ ก้านใบสั้น ฟีโนไทป์ 2 มีลักษณะทรงพุ่มบาง ใบประกอบมีข้อห่าง ก้านใบสั้น ฟีโนไทป์ 3 มีลักษณะทรงพุ่มแน่น ใบประกอบมีข้อห่าง ก้านใบยาว และฟีโนไทป์ 4 มีลักษณะทรงพุ่มแน่น ใบประกอบมีข้อห่าง ก้านใบสั้น ฟีโนไทป์ 1 ให้ผลผลิตสดสูงสุด 7,363 กิโลกรัมต่อไร่ ฟีโนไทป์ 2 ให้ผลผลิตแห่งสูงสุด 4,816 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ปริมาณอาร์ทิมิซินินสูงสุดร้อยละ 0.54 ของน้ำหนักแห่ง ทั้ง 4 ฟีโนไทป์ มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมตั้งแต่ 67 - 79%

          ดีปลี ได้มีการศึกษาใน 4 การทดลอง ได้แก่ การรวบรวมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ดีปลี โดยรวบรวมพันธุ์พันธุ์ดีปลีจากแหล่งผลิตและจำหน่ายในเขตกรุงเทพฯ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และจังหวัดฉะเชิงเทรา 6 สายพันธุ์ ได้แก่ ดีปลีจากตลาดในกรุงเทพฯ, ดีปลีจาก ต.พลิ้ว จ.จันทบุรี, ดีปลีจากวัดหนองเสม็ด จ.จันทบุรี, ดีปลีจาก อ.แสนตุ้ง จ.ตราด, ดีปลีจากเขาหินซ้อน #1 และ #2 จ.ฉะเชิงเทรา ปลูกรวบรวม ณ ศูนย์พัฒนาไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก ศูนย์วิจัยพืชส่วนจันทบุรี ผลการทดลองพบว่า ดีปลีจากวัดหนองเสม็ด จ.จันทบุรี ให้น้ำหนักมีการเจริญเติบโตดีที่สุดโดยมีความสูงต้นเฉลี่ย 16.36 เซนติเมตร/เดือน และดีปลีที่รวบรวมจาก อ.แสนตุ้ง จ.ตราด, ตลาดในกรุงเทพฯ และเขาหินซ้อน #1 ให้น้ำหนักสดค่อนข้างสูงโดยมีน้ำหนักสดเท่ากับ 764.1, 754.7 และ 741.3 กรัม/ค้าง การวิเคราะห์หาสารไพเพอรีน (Piperine) ในฝักดีปลีพบว่า ดีปลีจาก ต.พลิ้ว และวัดหนองเสม็ด จ.จันทบุรี มีปริมาณไพเพอรีนค่อนข้างสูง 3.90 และ 3.77 (%w/w) แต่ให้น้ำหนักสดและน้ำหนักแห่งค่อนข้างต่ำ ขณะที่ดีปลีจากเขาหินซ้อน #1 เป็นพันธุ์ที่ให้น้ำหนักสด น้ำหนักแห่ง และมีปริมาณไพเพอรีนค่อนข้างสูง 3.60 (%w/w) ดังนั้นพันธุ์ดีปลีที่รวบรวมจากเข้าหินซ้อน #1 จึงเป็นพันธุ์ที่มีแนวโน้มดีสำหรับการผลิตเพื่อการค้าเนื่องจากสามารถเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิต และปริมาณไพเพอรีนค่อนข้างสูง การทดลองผลข้องชนิดและอัตราปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ที่มีต่อการเพิ่มผลผลิตและสารสำคัญในดีปลี ได้ศึกษาระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมเพื่อนำไปผลิตเป็นยาสมุนไพร และศึกษาผลข้องอัตราปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตและสารสำคัญในดีปลี

          1) ศึกษาระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะส้มของดีปลีเพื่อให้ได้ผลผลิตตามมาตรฐานตำรายาสมุนไพรไทย ทำการทดลองที่ศูนย์พัฒนาไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก จ.จันทบุรี โดยทำการเปรียบเทียบระยะเก็บเกี่ยวฝักดีปลี 4 ระยะ คือ สีเขียว (91 - 98 วัน) สีเขียวอมส้ม (99 - 104 วัน) สีส้มอมเขียว (105 - 112 วัน) และสีส้ม (113 - 119 วัน) เมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักสดและน้ำหนักแห่งระยะสีส้มเป็นระยะที่มีน้ำหนักมากที่สุด 3.3 และ 1.0 กรัมต่อฝักตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบคุณลักษณะทางกายภาพและเคมีของดีปลีทั้ง 4 ระยะ กับค่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทยพบว่า ระยะสีเขียว และสีเขียวอมส้มผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 6 ข้อ ส่วนระยะสีส้มอมเขียวและระยะสีส้ม ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 5 ข้อ ซึ่งในแต่ละระยะจะมีข้อเด่นและข้อด้อยแต่กต่างกันออกไป ดังนี้ ระยะสีเขียวเป็นระยะที่ปริมาณสารสกัดน้ำ และไพเพอรีนดีที่สุด (15.7% และ 3.91% ตามลำดับ) แต่ระยะสีเขียวอมส้มมีขนาดของฝักแห่ง (ยาว 3.8 ซม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 7.1 มม.) และปริมาณสารสกัดเอทานอลดีที่สุด (10.65%) ระยะสีส้มอมเขียวมีขนาดฝักแห่งเท่ากับระยะสีเขียวอมส้ม (ยาว 3.8 ซม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 7.1 มม.) แต่มีค่าปริมาณเถ้าที่ไม้ละลายในน้ำต่ำ (1.6%) ซึ่งถือว่าเป็นระยะที่ไม้ก่อให้เกิดความเสี่ยงภาวะตกค้างของเกลือแคลเซียมออกซาเลต ที่เป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วได้ ส่วนระยะสีส้ม ถึงแม้จะผ่านเกณฑ์เพียง 5 เกณฑ์ แต่ค่าวิเคราะห์ที่อยู่ในเกณฑ์ดีมีถึง 5 ข้อ คือ ขนาดของฝักแห่งไม้แตกต่างกับระยะสีเขียวอมส้ม และสีส้มอมเขียว (ยาว 3.8 ซม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 7.1 มม.) แต่มีน้ำหนักฝักสดและฝักแห่งมากกว่าระยะอื่นๆ และมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นต่ำ (3.3 ก.ม 1.0 ก. และ 5.81% ตามลำดับ) สรุปได้ว่าการเก็บฝักดีปลีต้องเก็บฝักมีอายุ 91 ถึง 119 วัน เพราะทำให้ได้ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี เมื่อเกษตรกรเก็บขายและนำมาตากแห่งจะทำให้ได้น้ำหนักผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพ

          2) ทำการศึกษาผลของปุ๋ยต่อผลผลิตและสารสำคัญในดีปลี โดยทำการว่างแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย ปุ๋ยไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส (P2O5) : โพแทสเซียม (K2O) ที่อัตราต่างๆ กัน 4 อัตรา + มูลวัวแห่งที่อัตรา 2 หรือ 4 กิโลกรัม/ค้าง ร่วมชุดควบคุมที่ไม้มีการใส่ปุ๋ยทั้งปุ๋ยเคมีและมูลวัวแห่ง เป็นทั้งหมด 9 ทรีทเมนต์ ผลการศึกษาพบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 120 กรัม/ค้าง/ปี ฟอสฟอรัส (P2O5) 120 กรัม/ค้าง/ปี โพแทสเซียม (K2O) อัตรา 120 กรัม/ค้าง/ปี ร่วมกับการใส่มูลวัว 2 กิโลกรัม/ค้าง ให้น้ำหนักสด น้ำหนักแห่ง และปริมาณไพเพอรีน สูงที่สุด คือ 151.75 และ 40.92 กรัม/ต้น และ 3.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นด้วย ดังนั้นการใส่ปุ๋ยดีปลีควรใส่ในอัตราดังกล่าวโดยการใส่ปุ๋ยเคมีควรแบ่งใส่ 4 ครั้ง/ปี และการใส่มูลวัวแห่งแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี การทดลองอิทธิพลความเข้มแสงที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของดีปลี ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชส่วนตรัง วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 ไม้พรางแสง กรรมวิธีที่ 2 พรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 50 เปอร์เซ็นต์ และกรรมวิธีที่ 3 พรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 70 เปอร์เซ็นต์ พบว่าการพรางแสงทำให้การเจริญเติบโตด้านลำต้น ปริมาณและคุณภาพของดีปลีเพิ่มขึ้นมากกว่าการไม้พรางแสง โดยการพรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 70 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ความสูงต้นเพิ่มขึ้นอย่างมีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 121.16 เซนติเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเพิ่มขึ้นมากที่สุด เท่ากับ 0.61 เซนติเมตร การพรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 50 ทำให้ดีปลีมีขนาดทรงพุ่มและขนาดใบมากที่สุด เท่ากับ 49.8 เซนติเมตร และ 3.89 x 11.28 เซนติเมตร (ความกว้าง x ความยาว) ตามลำดับ ปริมาณและคุณภาพผลผลิตพบว่า การพรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 50 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณผลผลิตมากที่สุดอย่างมีความแต่กต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ โดยมีปริมาณน้ำหนักสดร่วม ปริมาณน้ำหนักแห้งร่วม เท่ากับ 2,173.48 และ 668.47 กรัม/ปี ตามลำดับ และการพรางแสงที่ระดับความเข้มแสง 70 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณสารอัลค่าลอยด์ไพเพอรินในผลผลิตมากที่สุดอย่างมีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับร้อยละ 2.65 การทดลองความสูงของค้างและการจัดการทรงพุ่ม ที่มีต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและคุณภาพของดีปลี ดำเนินงานที่โรงเรือนเพาะชำ สถาบันวิจัยพืชส่วน วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ใช้ค้างที่มีความสูง 4.0 เมตร และไม้ตัดแต่งทรงพุ่ม กรรมวิธีที่ 2 ใช้ค้างที่มีความสูง 1.5 เมตร และไม้ตัดแต่งทรงพุ่ม กรรมวิธีที่ 3 ใช้ค้างที่มีความสูง 1.5 เมตร และตัดแต่งทรงพุ่ม กรรมวิธีที่ 4 ใช้ค้างที่มีความสูง 2.0 เมตร และไม้ตัดแต่งทรงพุ่ม กรรมวิธีที่ 5 ใช้ค้างที่มีความสูง 2.0 เมตร และตัดแต่งทรงพุ่ม จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าดีปลีที่ใช้กรรมวิธีที่ 2 ใช้ค้างที่มีความสูง 1.5 เมตร และไม้ตัดแต่งทรงพุ่ม ให้ความสูง สูงสุดเฉลี่ย 121.8 เซนติเมตร ความกว้างทรงพุ่ม 66.5 เซนติเมตร ความกว้างใบ 11.2 เซนติเมตร ความยาวใบ 4.9 เซนติเมตร ให้น้ำหนักสดสูงสุดเฉลี่ย 99 กิโลกรัม/ต้น และน้ำหนักแห่ง สูงสุดเฉลี่ย 32.75 กิโลกรัม/ต้น ตามลำดับ

          รางจืด ศูนย์วิจัยพืชส่วนจันทบุรีรวบร่วมรางจืดจากพื้นที่ต่างๆ จำนวน 26 จังหวัด และทำการคัดเลือกได้สายต้นที่มีการเจริญเติบโตดี 73 สายต้น พบว่าพื้นที่ใบ มีความแปรปรวนสูง โดยมีพื้นที่ใบ 15.90 - 180.83 ตารางเซนติเมตร ลักษณะของขนที่ใบ จำแนกได้เป็น 2 สปีชีย์ คือ Thunber gialaurifolia Lindl. (รางจืด) ไม้มีขนจำนวน 63 สายต้น และ T. grandiflora Roxb. (สร้อยอินทนิล) มีขนจำนวน 10 สายต้น และทั้ง 2 ชนิดมีปริมาณสารฟีโนลิคไม่แตกต่างกัน จำแนกตามลักษณะใบได้ 2 ลักษณะ คือ ใบรูปแฉก (3 - 5 แฉก) จำนวน 16 สายต้น และใบยาว (แฉกไม้ชัดเจน) จำนวน 57 สายต้น ส่วนของใบมีปริมาณสารฟีโนลิคมากกว่าส่วนของราก และต้นรางจืดมีปริมาณสารฟีโนลิคมากกว่าสร้อยอินทนิล

          ฟักข้าว ทำการปลูกประเมินพันธุ์ฟักข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 คัดเลือกได้คู่ผสมเชียงใหม่ × เวียดนาม ให้ผลผลิตผลสุกแก่ 22 กิโลกรัมต่อต้น น้ำหนักผลสุกแก่ 975 กรัมต่อผล อายุเก็บเกี่ยวหลังปลูก 157 วัน น้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดแห่ง 42.9 กรัมต่อผล ปริมาณไลโคปีน 29.6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดแห่ง 100 กรัม ปริมาณเบต้าแคโรทีน 58.0 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดแห่ง 100 กรัม จากนั้นปลูกฟักข้าวลูกผสมชั่วที่ 2 ของคู่ผสมเชียงใหม่ × เวียดนาม คัดเลือกลูกผสมชั่วที่ 2 ได้ 3 สายพันธุ์ได้แก่ สายพันธุ์ (CM × VN) –10 สายพันธุ์ (CM × VN) –11 และสายพันธุ์ (CM × VN) –16 ในปี 2558 ให้น้ำหนักผลสุกแก่เฉลี่ย 1,067 1,164 และ 1,357 กรัมต่อผล ตามลำดับ

          อัญชัน ได้ทำการปรับปรุงอัญชันพันธุ์ปลูกทั่วไป แบบคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ ปลูกคัดเลือกและเปรียบเทียบสายพันธุ์ในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ได้อัญชันดอกสีน้ำเงินที่ผ่านการคัดเลือก 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 7-1-16, 14-2-2, 18-2-5 และ 13 เปรียบเทียบกับพันธุ์ปลูกทั่วไปพบว่า สายพันธุ์ 14-2-2, 13 และ 18-2-5 ให้ปริมาณแอนโธไซยานินสูงสุด 74.7, 74.0 และ 72.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักดอกสด 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป ร้อยละ 12, 11 และ 9 ตามลำดับ สายพันธุ์ 7-1-16 ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตดอกสดสูงสุด 1,639 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับสายพันธุ์ 13 และพันธุ์ปลูกทั่วไป ซึ่งให้ผลผลิตดอกสดรองลงมาคือ 1,150 และ 1,144 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ทั้ง 4 สายพันธุ์ มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมร้อยละ 98 - 99 อัญชันทั้ง 4 สายพันธุ์และพันธุ์ปลูกทั่วไป มีความแต่กต่างกันทางสถิติของขนาดใบในใบประก่อบที่มี 5 ใบย่อย และมีความแตกต่างกันของลักษณะกลีบดอก

          มะรุม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร เก็บรวบร่วมและคัดเลือกมะรุมพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์การค้า 7 พันธุ์ พบว่าพันธุ์ระยองให้ผลผลิตใบส่วนยอดสูงสุด 1,856 กรัมต่อต้น พันธุ์หนองค่ายให้น้ำหนักฝักสดสูงสุด 9.80 กิโลกรัมต่อต้น พันธุ์พระนครศรีอยุธยาให้จำนวนฝักสดสูงสุด 225 ฝักต่อต้น พันธุ์ PKM-1 (อินเดีย) ให้น้ำหนักฝักสดสูงสุด 74.0 กรัมต่อฝัก พันธุ์พระนครศรีอยุธยา เก็บเกี่ยวฝักสดเร็วที่สุดคือ หลังปลูก 290 วัน มะรุมทั้ง 7 พันธุ์ มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมประมาณ 93.4 เปอร์เซ็นต์ ในใบส่วนยอดระยะรับประทานสด พันธุ์สามเอ และพันธุ์ PKM-1 (อินเดีย) ให้ปริมาณโปรตีนสูงสุดคือ 22.1 และ 22.0 กรัมต่อน้ำหนัก ใบแห้ง 100 กรัม ตามลำดับ ในฝักสดหลังลอกเปลือก 100 กรัม พันธุ์สามเอ ให้ปริมาณโปรตีนสูงสุด 1.67 กรัม และพันธุ์สระแก้ว ให้ปริมาณใยอาหารสูงสุด 3.55 กรัม

          พลูคาว จากการทดลองเปรียบเทียบพันธุ์พลูคาวในพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ และศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ในด้านการเจริญเติบโต พบว่าพลูคาวใบเขียวทั้ง 3 แหล่งปลูก คือ แพร่ ลำปาง สุโขทัย และพลูคาวใบแดงเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโต ผลผลิตน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งดีกว่าพลูคาวก้านม่วง แต่พลูคาวก้านม่วงจะมีปริมาณสารสำคัญทั้ง 2 ชนิด คือ Rutin และ Quercitrin สูงกว่าพลูคาวใบเขียวและพลูคาวใบแดง ดังนั้นหากต้องการพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงจึงควรเลือกใช้พลูคาวพันธุ์ใบเขียวหรือพันธุ์ใบแดง แต่หากต้องการปริมาณสารสำคัญสูงควรเลือกใช้พลูคาวก้านม่วง

          กระเจี๊ยบแดง ปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบแดงโดยทำการคัดเลือกด้วยวิธี Pure Line Selection เพื่อให้ได้สายพันธุ์กระเจี๊ยบแดงที่มีความสม่ำเสมอของสายพันธุ์ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกคือ ผลผลิตแห้งสูง และสีสันสวยงามเมื่อกลีบเลี้ยงแห้ง ได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะดี 18 สายพันธุ์ จำนวนกลีบเลี้ยงอยู่ระหว่าง 96 - 485 น้ำหนักกลีบเลี้ยงแห้ง (กลีบเลี้ยง) อยู่ระหว่าง 106 - 310 กรัม/ต้น น้ำหนักเมล็ดอยู่ระหว่าง 700 - 2,000 กรัม/ต้น ความสูงตอนเก็บเกี่ยว 150 - 260 เซนติเมตร สำหรับสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุด ได้แก่ สายพันธุ์ RSKp 3-17-10 น้ำหนักกลีบเลี้ยงสูงถึง 310 กรัม/ต้น ในขณะที่สายพันธุ์ RSKl 1-10-9 น้ำหนักเมล็ดสูงสุด 1,500 กรัม/ต้น สำหรับสีของกลีบเลี้ยงมีสีแดงเข้มจนถึงม่วงดำ กลุ่มสายพันธุ์ RSKdp มีสีเข้มที่สุดคือ สีม่วงดำ แต่เนื่องจากมีเวลาในการคัดเลือกเพียง 2 รุ่น ทำให้ยังมีการกระจายตัวทางทางพันธุกรรมอยู่จึงควรมีการดำเนินการคัดเลือกต่อไป เพื่อให้ได้สายพันธุ์กระเจี๊ยบแดงพันธุ์ดีที่มีความคงตัวทางพันธุกรรม

          การศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชสมุนไพรเครื่องเทศเพื่อการส่งออกและทดแทนการนำเข้า ได้ทำการศึกษาในพืชสมุนไพรเครื่องเทศ 3 ชนิด ได้แก่ วานิลลา กระว่าน และอบเชย เพราะเป็นพืชสมุนไพรเครื่องเทศที่นิยมบริโภคในหลายประเทศทั่วโลก และมีความต่องการอย่างมากในตลาดโลก เนื่องจากมีการนำไปใช้ในหลากหลายด้าน ทั้งในการปรุงแต่งรสและกลิ่น สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง มีสรรพคุณทางยา

          วานิลลา ได้ทำการรวบร่วมและศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของวานิลลาจากแหล่งที่มาแตกต่างกัน นำมาปลูกในแปลงทดลองศูนย์วิจัยพืชส่วนจันทบุรี จำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ อินโดนีเซีย อ.สอยดาว (จ.จันทบุรี) อินเดีย และจีน โดยปลูกต้นวานิลลาโดยใช้ค้างเสาปูน พรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสง 70 เปอร์เซ็นต์ พบว่า พันธุ์อินโดนีเซียมีจำนวนดอกต่อช่อ 15.73 ดอก มีขนาดความกว้าง-ยาว-ความหนาฝักสดเท่ากับ 1.11 x 15.17 x 0.87 เซนติเมตร น้ำหนักฝักสดเท่ากับ 10.22 กรัม มีขนาดความกว้าง-ยาว-ความหนาฝักแห้งเท่ากับ 0.62 X 14.66 x 0.34 เซนติเมตร และน้ำหนักฝักแห้งเท่ากับ 2.75 กรัม ปัจจุบันอยู่ระหว่างส่งตัวอย่างฝักแห้งเพื่อวิเคราะห์ปริมาณสารว่านิลลินในฝัก ดังนั้นพันธุ์จาก่อินโดนีเซียจึงเป็นพันธุ์ที่มีแนวโน้มสำหรับใช้เป็นพันธุ์ปลูกที่ดี เนื่องจากสามารถเจริญเติบโตในสภาพอากาศภาคตะวันออก ทนทานต่อโรคเถ้าเน่า และสามารถออกดอกและติดฝักได้ดี

          กระวาน ได้เปรียบเทียบพันธุ์กระวานเมื่อปลูกในสภาพพื้นที่ระดับความสูงต่างกัน โดยดำเนินการในพื้นที่เกษตรกร 2 แปลง แปลงที่ 1 ตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 520 เมตร บนเข้ารามโรม และแปลงที่ 2 ที่ระดับ 345 เมตร บนเทือกเข้าร่อนพิบูลย์ ตำบลร่อนพิบูลย์ อ าเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 5 ซ้ำๆ ละ 6 ก่อ กับกระวานพันธุ์จันทบุรี ร่อนพิบูลย์ ธารโต และกระวานเทศ มีการปลูกและปฏิบัติดูแลรักษาเหมือนกันทั้ง 2 แปลง หลังจากปลูก 2.3 ปี พบว่ากระวานทั้ง 4 พันธุ์ในแปลงที่ 2 มีการเจริญเติบโตทางลำต้นมากกว่าแปลงที่ 1 โดยเฉลี่ยมีจำนวนต้น 27.1 ต้นต่อก่อ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.7 เซนติเมตร จำนวน 12.9 ใบ ขนาดใบกว้าง 9.3 เซนติเมตร และใบยาว 45.8 เซนติเมตร ทั้งนี้พันธุ์ร่อนพิบูลย์และธารโต ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองของภาคใต้ มีการแตกก่อมากกว่าพันธุ์จันทบุรี ส่วนกระวานเทศมีการแตกก่อต่ำที่สุด คือ พันธุ์ร่อนพิบูลย์มีจำนวนต้น 41.7 ต้น และธารโตมี 44.1 ต้น ส่วนพันธุ์จันทบุรีมี 12.8 ต้น และกระวานเทศมี 9.9 ต้นซึ่งต่ำที่สุด ทั้งนี้ในแปลงที่ 2 มีการออกดอก 21.4 ดอกต่อก่อ ซึ่งต่ำกว่าแปลงที่ 1 ที่มี 22.9 ดอกต่อก่อ แต่แปลงที่ 1 มีอัตราการติดเมล็ด 2.4 เมล็ดต่อช่อ ขนาดเมล็ดกว้างและยาว 1.2 x 1.1 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ดสด 1.1 กรัมและน้ำหนักแห้ง 0.3 กรัม ซึ่งสูงกว่าแปลงที่ 1 ที่มีจำนวนเมล็ด 1 เมล็ดต่อช่อดอก ขนาดเมล็ดกว้างและยาว 0.9 x 1.0 เซนติเมตร น้ำหนักเมล็ดสด 0.4 กรัมและน้ำหนักแห้ง 0.1 กรัม ทั้งนี้อาจเพราะในแปลงที่ 2 สภาพแวดล้อม มีความชุ่มชื้นสูงกว่า ต้นกระวานมีการเจริญเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการติดเมล็ดดีและผลผลิตมีคุณภาพสูงกว่า อย่างไรก็ตามกระวานยังมีการติดเมล็ดต่ำเพียง 1 - 3 เมล็ดต่อช่อดอก อาจเพราะอายุต้นน้อย การพัฒนาการของต้นยังไม้สมบรูณ์เต็มที่

          อบเชย ได้ทำการรวบรวมและจำแนกพันธุ์อบเชยจากแหล่งปลูกต่างๆ จำนวน 10 ตัวอย่าง ได้แก่ พันธุ์ศรีลังกา (ซีลอน) พันธุ์อินโดนีเซีย พันธุ์กาญจน์ (เข้าเหล็ก) พันธุ์เชียด (โคราช) พันธุ์เชียด (สตูล) พันธุ์ญวน พันธุ์สุราษฎร์ธานี (ใบใหญ่) พันธุ์สุราษฎร์ธานี (ใบเล็ก) พันธุ์ศรีลังกา (สนามชัยเขต) และพันธุ์ญวน (ตรัง) นำมาศึกษาลักษณะประพันธุ์พบว่า อบเชยที่รวบรวมได้มีลักษณะใบที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด จากนั้นนำมาปลูกรวบร่วมเพื่อศึกษาลักษณะการเจริญเติบโต จำนวน 6 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์อินโดนีเซีย พันธุ์เชียด (โคราช) พันธุ์เชียด (สตูล) พันธุ์ญวน (ตรัง) พันธุ์สุราษฎร์ธานี (ใบใหญ่) และพันธุ์สุราษฎร์ธานี (ใบเล็ก) พบว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี (ใบใหญ่) มีการเจริญเติบโตด้านความสูงเฉลี่ยมากที่สุด คือ 112.5 เซนติเมตร พันธุ์อินโดนีเซีย พันธุ์เชียด (โคราช) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเฉลี่ยมากที่สุด คือ 2.5 เซนติเมตร พันธุ์ญวน (ตรัง) มีขนาดทรงพุ่ม และขนาดความกว้างของใบเฉลี่ยมากที่สุด คือ 87.5 และ 6.3 เซนติเมตร ตามลำดับ และพันธุ์เชียด (โคราช) มีขนาดความยาวของใบเฉลี่ยมากที่สุด คือ 14.53 เซนติเมตร

          การศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชสมุนไพรเครื่องเทศเพื่อทดแทนการนำออกจากป่าหรือหายากใกล้สูญพันธุ์ เป็นการศึกษาพืชสมุนไพรที่ใช้ประโยชน์ทางเภสัชกรรม ได้แก่ พืชสมุนไพรตรีผลา (สมอไทยและสมอพิเภก) และวานเพชรกลับ

          สมอไทยและสมอพิเภก ได้คัดเลือกรวบรวมสมอไทยและสมอพิเภกสายพันธุ์ดีในแปลงรวบรวม ศึกษาการเจริญเติบโต โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 3 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) สมอพิเภกเพาะเมล็ด 2) สมอไทยเพาะเมล็ด และ 3) สมอไทยเสียบยอด ดำเนินการ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม ผลการสำรวจและศึกษาลักษณะของสมอไทยพบว่า สมอไทยมีขนาดผลแตกต่างกันแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผลมากกว่า 15 กรัม ขึ้นไป 2) กลุ่มผลขนาดกลาง น้ำหนักผลอยู่ระหวาง 10 - 15 กรัมต่อผล และ 3) กลุ่มผลขนาดเล็ก น้ำหนักผลน้อยกว่า 10 กรัมต่อผล และยังสำรวจพบสมอนั่งซึ่งเป็นสายพันธุ์หนึ่งของสมอไทย มีลักษณะเป็นพุ่มขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 1 เมตร โดยประมาณ น้ำหนักผล 8.13 - 13.00 กรัมต่อผล พบสมอพิเภก 2 ตัวอย่าง น้ำหนักผลเฉลี่ย 14.96 และ 14.52 กรัมต่อผล การขยายพันธุ์พบว่า สมอไทยขยายพันธุ์ด้วยการการเพาะเมล็ด เสียบยอด และทาบกิ่ง สมอนั่งขยายพันธุ์ด้วยการชำต้น และสมอพิเภกขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดให้ผลดีที่สุด การเจริญเติบโตในแปลงรวบรวมพันธุ์ของสมอพิเภกเพาะเมล็ด สมอไทยเพาะเมล็ด และสมอไทยเสียบยอด เมื่ออายุ 2 เดือนหลังปลูก ไม้แตกต่างกันในทางสถิติ แต่เมื่ออายุ 8 เดือนหลังปลูก สมอพิเภกเพาะเมล็ดสูงที่สุดและมีจำนวนกิ่งมากที่สุดแตกต่างจากสมอไทยเสียบยอดอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม้แตกต่างกันในทางสถิติกับสมอไทยเพาะเมล็ด และเมื่ออายุ 15 เดือนหลังปลูก ปรากฏว่า สมอพิเภกเพาะเมล็ดสูงที่สุดและให้จำนวนกิ่งมากที่สุดแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับสมอไทยเพาะเมล็ดและสมอไทยเสียบยอด คือ สูง 116.50 77.00 และ 75.00 เซนติเมตร ตามลำดับ จำนวนกิ่งเฉลี่ย 7.75 3.00 และ 2.75 กิ่งต่อต้น ตามลำดับ ในขณะที่สมอไทยเพาะเมล็ดและสมอไทยเสียบยอดมีความสูงและจำนวนกิ่งไม้แตกต่างกันในทางสถิติ สำหรับสมอนั่งความสูงเพิ่มค่อนข้างช้าแต่แตกกิ่งดี คือ เมื่ออายุ 2 10 และ 13 เดือน หลังปลูก มีความสูงต้นเฉลี่ย 47.20 47.30 และ 48.00 เซนติเมตร จำนวนกิ่ง 3.20 11.67 และ 11.80 กิ่งต่อต้น ตามลำดับ

          วานเพชรกลับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน สวพ.1 ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และสถาบันวิจัยพืชสวน ได้ดำเนินการรวบรวมคัดเลือกพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์วานเพชรกลับ สามารถรวบรวมพันธุ์วานเพชรกลับจากแหล่งต่างๆ ได้ทั้งหมด 11 ตัวอย่าง 5 แหล่ง คือ จยังหวัด หนองค่าย บึงกาฬ มุกดาหาร สกลนคร อุบลราชธานีและ จาก ชายแดน ไทย-ลาว ด้านเมืองเวียงจันท์ ทำการปลูกเพื่อคัดเลือกพันธุ์วานเพชรกลับพบว่า สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุด 3 ลำดับแรกคือ สายพันธุ์ BK-Pt#2 จากวัดภูทอก (วัดเจติยาคิรีวิหาร) ตำบลนาแสง อ าเภอศรีวิไล จยังหวัดบึงกาฬ สายพันธุ์ PL-Nt#1 จากแปลงเกษตรกรชาวเข้า อ.นครไทย จ.พิษณุโลก และ สายพันธุ์ SN-Ma#1 จาก่อ.เมือง จ. สกลนคร ให้ผลผลิต17.37 15.26 และ14.37 กิโลกรัมต่อ 72 ตารางเมตร ตามลำดับ สายพันธุ์เหล่านี้ได้นำไปทำการเปรียบเทียบพันธุ์วานเพชรกลับ โดยวางแผนการทดลอง แบบ RCB 3 กรรมวิธี 6 ซ้ำ พบว่าให้ผลผลิตไปในทำนองเดียวกันคือ สายพันธุ์ BK-Pt#2 ได้ผลผลิตสูงที่สุด 16.07 กิโลกรัมต่อ 72 ตารางเมตร รองลงมาคือ สายพันธุ์ PL-Nt#1 12.74 กิโลกรัมต่อ 72 ตารางเมตร และสายพันธุ์ SN-Ma#1 ได้ผลผลิต 12.25 กิโลกรัมต่อ 72 ตารางเมตร โดยมีความแตกต่างทางสถิติ นอกจากนั้นยังมีการศึกษาการขยายพันธุ์วานเพชรกลับโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยมี 2 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ การชักนำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเจริญให้เจริญเป็นต้น โดยนำหน่ออ่อนที่มีตา ขนาดยาวประมาณ 5 - 10 นิ้ว มาเลี้ยงบนสูตรอาหาร Murashige และ Skoog (1962)(MS) ร่วมกับการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ที่ระดับความเข้มข้น 0 1 2 3 4 และ 5 ppm นาน 45 วัน พบว่าทุกสูตรอาหารชักนำให้เกิดต้นจากหน่ออ่อนได้ไม้แตกต่างกัน และได้จำนวน 1 ต้นต่อ 1 ชิ้นส่วน จากนั้นนำส่วนยอดของต้นอ่อนวานเพชรกลับที่ได้ขนาดประมาณ 4 - 5 ซม. มาขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณยอด บนสูตรอาหาร Murashige และ Skoog (1962) (MS) ร่วมกับการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโต BA ที่ระดับความเข้มข้น 0 2 4 6 และ 8 ppm นาน 45 วัน พบว่าทุกสูตรอาหาร MS ทั้งที่เติมและไม้เติม BA มีการเพิ่มปริมาณยอดใหม่ให้มีสูงประมาณ 4 - 6 ต้น และทุกสูตรอาหารสามารถเกิดรากได้ และดีที่สุดในอาหารสยังเคราะห์สูตร MS ที่เติม 6 ppm BA

          การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชสมุนไพรอย่างยั่งยืน เป็นศึกษาและคัดเลือกชนิดพืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อใช้ในตำรับยาในระบบการผลิตอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตพืชสมุนไพร การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรเพื่อผลิตเป็นวัตถุดิบใช้เสริมในบัญชียาหลักแห่งชาติ และทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน โดยสำรวจการผลิตพืชสมุนไพรของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดแพร่ และสำรวจปริมาณความต้องการพืชสมุนไพร เพื่อใช้ในการส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลสอง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาสมุนไพรชนิดต่างๆ คัดเลือกพื้นที่จัดทำแปลงผลิตพืชสมุนไพร พื้นที่ 1 ไร่ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ดำเนินการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน ไพล ฟ้าทะลายโจร มะระขี้นก และชุมเห็ดเทศ โดยปลูกพืชสมุนไพรแต่ละชนิดในพื้นที่ 400 ตารางเมตร ดำเนินการปฏิบัติดูแลรักษา เก็บเกี่ยวผลผลิต ขมิ้นชัน เมื่ออายุ 1 ปี ไพล เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 2 ปี ฟ้าทะลายโจร เก็บเกี่ยวระยะเริ่มออกดอก - ระยะดอกบาน 50% และไม่ควรเกินระยะยังกล่าว เพื่อให้มีสารสำคัญสูง โดยตัดทั้งต้นเหนือดินประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร มะระขี้นกเก็บเกี่ยวเมื่ออายุตั้งแต่ 50 - 100 วัน และชุมเห็ดเทศเก็บเกี่ยวอายุ 2 ปี บันทึกเก็บข้อมูลปริมาณผลผลิต รายได้จากพืชสมุนไพรแต่ละชนิด ช่วงเวลาการปลูกและช่วงการเก็บเกี่ยว และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวของ ผลการทดลองพบว่า การผลิตพืชสมุนไพรใน 1 ฤดูปลูก ในพื้นที่ 1 ไร่ ฟ้าทะลายโจร ให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 2,987 - 3,163 กิโลกรัม มะระขี้นกให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,650 กิโลกรัม ขมิ้นชันให้ผลผลิต 3,163 กิโลกรัม ชุมเห็ดเทศอายุ 2 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 772 กิโลกรัม และไพลให้ผลผลิตเฉลี่ย 4,496 กิโลกรัม ผลผลิตฟ้าทะลายโจรสดกิโลกรัมละ 10 บาท รายได้ 29,870 - 31,630 บาท/ไร่ ผลผลิตมะระขี้นกสด ราคากิโลกรัมละ 25 บาท มีรายได้เฉลี่ย 41,250 บาท/ไร่ ผลผลิตขมิ้นชันสดราคากิโลกรัมละ 7 บาท มีรายได้เฉลี่ย 14,036 บาท/ไร่ ส่วนชุมเห็ดเทศเก็บส่วนใบแก่ราคากิโลกรัมละ 13 บาท มีรายได้เฉลี่ย 10,036 บาท/ไร่ ทั้งนี้ชุมเห็ดเทศเป็นไม้พุ่มหลายปี สามารถเก็บผลผลิตได้หลายครั้ง ต้นทุนเฉลี่ยต่อไร่ในการผลิตพืชสมุนไพร ประมาณ 8,000 - 10,000 บาท รายได้ต่อไร่ ฟ้าทะลายโจรมีรายได้เฉลี่ย 31,630 บาท มะระขี้นกสดเฉลี่ย 41,250 บาท ผลผลิตขมิ้นชันสดเฉลี่ย 14,036 บาท และชุมเห็ดเทศเฉลี่ย 18,200 บาท และไพลสดเฉลี่ย 58,454 บาท รายได้สุทธิต่อไร่ ฟ้าทะลายโจรมีรายได้เฉลี่ย 23,630 บาท มะระขี้นกเฉลี่ย 33,250 บาท ขมิ้นชันเฉลี่ย 16,600 บาท ชุมเห็ดเทศเฉลี่ย 12,200 บาท และไพลสดเฉลี่ย 48,454 บาท ร่วมผลต่อบแทนสุทธิจากการปลูกพืชสมุนไพร 5 ชนิดในพื้นที่ 1 ไร่ คิดเป็นเงิน 100,000 - 130,000 บาท


ไฟล์แนบ
.pdf   105_2558.pdf (ขนาด: 9.17 MB / ดาวน์โหลด: 9,988)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม