01-05-2016, 11:35 AM
การควบคุมโรคใบจุดเหลืองของกล้วยไม้สกุลแวนด้าโดยชีววิธี
ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, สุรีย์พร บัวอาจ, อัจฉรา พยัพพานนท์ และดวงพร อมัตรัตนะ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน
ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, สุรีย์พร บัวอาจ, อัจฉรา พยัพพานนท์ และดวงพร อมัตรัตนะ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน
แยกเก็บแบคทีเรียปฏิปักษ์จากบริเวณผิวใบ ผิวราก แบคทีเรีบที่เจริญในท่อลำเลียงของกล้วยไม้และหน้าวัว แบคทีเรียจาก culture collections จำนวน 130 ไอโซเลท และเก็บนำสกัดจากเห็ดตีนแรด 5 สายพันธุ์ จำนวน 20 ตัวอย่าง ทดสอบคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์และสารสกัดเห็ดที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. cattleyae จำนวน 2 ไอโซเลท คือ P285 และ P391 ด้วยวิธี paper disc diffusion พบความผันแปรของปฏิกิริยาต่อไอโซเลทของเชื้อสาเหตุโรค ค่าเฉลี่ยรัศมีส่วนใสบริเวณยับยั้ง 0-0.4 มม. ปฏิกิริยาการยับยั้งของสารสกัดเห็ดตีนแรด 1 ตัวอย่าง รัศมี 1.2 มม. คัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลทที่ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาเหตุโรคจำนวน 9 ไอโซเลท ได้แก่ PA12, NA17, KA18, KA19, KA20, NA39, NA40, NA41 และ Pho38 ทดสอบปฏิกิริยายังยั้งแบคทีเรียสาเหตุดรค 6 ไอโซเลท ได้แก่ P206, P236, P244, P285, P377 และ P391 แบคทีเรียปฏิปักษ์ 3 ไอโซเลท คือ PA12, NA17 และ NA40 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคได้ทั้ง 6 ไอโซเลท โดยมีรัศมีของบริเวณยับยั้งแตกต่างกัน พบปฏิกิริยาการยังยั้งลักษณะเป็นวงใส วงขุ่นกว้าง มีเชื้อเจริญโดยรอบ
ทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคบนกล้วยไม้สกุลแวนด้าลูกผสมอายุ 4 เดือน โดยพ่นเซลล์แขวนลอยแบคทีเรียปฏิปักษ์ 5 ไอโซเลท ได้แก่ NA18, KA28, KA33, KA34, KA35 และชีวภัณฑ์ผงอัดเม็ดฟู่ของแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท KA33 เปรียบเทียบกับการพ่นน้ำเปล่า ผลการทดสอบพบว่า ในระยะแรกของการพ่นเซลล์แขวนลอยเชื้อและผงอัดเม็ดฟู่ให้ผลการควบคุมโรคไม่แตกต่างกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ แต่หลังจากพ่นแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรคตามกรรมวิธี 5 ครั้ง พบว่า ทุกกรรมวิธีให้ผลในการควบคุมโรคได้ดีกว่าการพ่นด้วยน้ำเปล่า โดยกรรมวิธีการพ่นเซลล์แขวนลอยแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท KA28 กล้วยไม้แสดงอาการโรคต่ำสุด (4.1) รองลงมาคือ เซลล์แขวนลอยแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท KA33 (7.5) กรรมวิธีการพ่นชีวภัณฑ์แบคทีเรียไอโซเลท KA33 (8.7) ให้ผลในการควบคุมโรคใกล้เคียงกับการพ่นเซลล์แขวนลอยเชื้อแบคทีเรียไอโซเลท KA34 (8.3) และ KA35 (8.8) โดยการทดลองเปรียบเทียบพ่นน้ำเปล่า มีระดับการเกิดโรคเท่ากับ 14.7