การควบคุมโรคใบจุดเหลืองของกล้วยไม้สกุลแวนด้าโดยชีววิธี - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2553 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=8) +--- เรื่อง: การควบคุมโรคใบจุดเหลืองของกล้วยไม้สกุลแวนด้าโดยชีววิธี (/showthread.php?tid=1028) |
การควบคุมโรคใบจุดเหลืองของกล้วยไม้สกุลแวนด้าโดยชีววิธี - doa - 01-05-2016 การควบคุมโรคใบจุดเหลืองของกล้วยไม้สกุลแวนด้าโดยชีววิธี ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, สุรีย์พร บัวอาจ, อัจฉรา พยัพพานนท์ และดวงพร อมัตรัตนะ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน แยกเก็บแบคทีเรียปฏิปักษ์จากบริเวณผิวใบ ผิวราก แบคทีเรีบที่เจริญในท่อลำเลียงของกล้วยไม้และหน้าวัว แบคทีเรียจาก culture collections จำนวน 130 ไอโซเลท และเก็บนำสกัดจากเห็ดตีนแรด 5 สายพันธุ์ จำนวน 20 ตัวอย่าง ทดสอบคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์และสารสกัดเห็ดที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. cattleyae จำนวน 2 ไอโซเลท คือ P285 และ P391 ด้วยวิธี paper disc diffusion พบความผันแปรของปฏิกิริยาต่อไอโซเลทของเชื้อสาเหตุโรค ค่าเฉลี่ยรัศมีส่วนใสบริเวณยับยั้ง 0-0.4 มม. ปฏิกิริยาการยับยั้งของสารสกัดเห็ดตีนแรด 1 ตัวอย่าง รัศมี 1.2 มม. คัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลทที่ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียสาเหตุโรคจำนวน 9 ไอโซเลท ได้แก่ PA12, NA17, KA18, KA19, KA20, NA39, NA40, NA41 และ Pho38 ทดสอบปฏิกิริยายังยั้งแบคทีเรียสาเหตุดรค 6 ไอโซเลท ได้แก่ P206, P236, P244, P285, P377 และ P391 แบคทีเรียปฏิปักษ์ 3 ไอโซเลท คือ PA12, NA17 และ NA40 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคได้ทั้ง 6 ไอโซเลท โดยมีรัศมีของบริเวณยับยั้งแตกต่างกัน พบปฏิกิริยาการยังยั้งลักษณะเป็นวงใส วงขุ่นกว้าง มีเชื้อเจริญโดยรอบ
ทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมโรคบนกล้วยไม้สกุลแวนด้าลูกผสมอายุ 4 เดือน โดยพ่นเซลล์แขวนลอยแบคทีเรียปฏิปักษ์ 5 ไอโซเลท ได้แก่ NA18, KA28, KA33, KA34, KA35 และชีวภัณฑ์ผงอัดเม็ดฟู่ของแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท KA33 เปรียบเทียบกับการพ่นน้ำเปล่า ผลการทดสอบพบว่า ในระยะแรกของการพ่นเซลล์แขวนลอยเชื้อและผงอัดเม็ดฟู่ให้ผลการควบคุมโรคไม่แตกต่างกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ แต่หลังจากพ่นแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรคตามกรรมวิธี 5 ครั้ง พบว่า ทุกกรรมวิธีให้ผลในการควบคุมโรคได้ดีกว่าการพ่นด้วยน้ำเปล่า โดยกรรมวิธีการพ่นเซลล์แขวนลอยแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท KA28 กล้วยไม้แสดงอาการโรคต่ำสุด (4.1) รองลงมาคือ เซลล์แขวนลอยแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท KA33 (7.5) กรรมวิธีการพ่นชีวภัณฑ์แบคทีเรียไอโซเลท KA33 (8.7) ให้ผลในการควบคุมโรคใกล้เคียงกับการพ่นเซลล์แขวนลอยเชื้อแบคทีเรียไอโซเลท KA34 (8.3) และ KA35 (8.8) โดยการทดลองเปรียบเทียบพ่นน้ำเปล่า มีระดับการเกิดโรคเท่ากับ 14.7
|