การทดสอบความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ที่มีต่อไรตัวห้ำ A. cinctus
#1
การทดสอบความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ที่มีต่อไรตัวห้ำ Amblyseius cinctus
มานิตา คงชื่นสิน, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ และพลอยชมพู กรวิภาสเรือง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการทดสอบความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชจำนวน 40 ชนิด ด้วยอัตราความเข้มข้นที่ใช้ในไร่ กับไรตัวห้ำ Amblyseius cinctus โดยวิธี leaf-dip method ทดสอบความเป็นพิษของสารฯ ตกค้างที่เข้าสู่ร่างกายของไรโดยการสัมผัสที่ปลายขา ทำการทดสอบกับตัวเต็มวัยเพศเมีย ไข่ และตัวอ่อน ในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 – เดือนกันยายน 2553 เพื่อได้สารที่ปลอดภัยกับไรตัวห้ำ สามารถแนะนำให้ใช้ในแปลง IPM หรือแปลงปลูกพืชที่มีการปล่อยไรตัวห้ำได้ ผลการทดลองพบว่า สารที่จัดว่าปลอดภัยต่อไรตัวห้ำ (ตายน้อยกว่า 30% หลังได้รับสารฯ) มี 27 ชนิด ได้แก่ methomyl 40% SP, emamectin benzoate 1.92% EC, etofenprox 20% EC, tetradifon 7.52% EC, benfuracarb 20% EC, lambda-cyhalothrin 2.5% CS, fenazaquin 20% SC, clothioanidin 16% SG, buprofezin 40% SC, malathion 57% EC, petroleum oil 99.99% EC, cypermethrin + phosalone 28.75% EC, fenbutatinoxide 55% SC, carbosulfan 20% EC, diafenthiuron 25% SC, imidacloprid 70% WG, dinotefuran 10% WP, betacyfluthrin 2.5% EC, imidacloprid 10% SL, lufennuron 5% EC, novaluron 10% EC, spiromefen 24% SC, triafloxystrobin 50% WG, sulfur 80% WG, triforin 19% EC, carbendazim 50% SC, captan 50% WP


ไฟล์แนบ
.pdf   1596_2553.pdf (ขนาด: 115.96 KB / ดาวน์โหลด: 1,204)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การทดสอบความเป็นพิษของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ที่มีต่อไรตัวห้ำ A. cinctus - โดย doa - 12-08-2015, 01:36 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 6 ผู้เยี่ยมชม